วันพุธที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

การเขียนสระและพยัญชนะในภาษาบาลี

การเขียนสระและพยัญชนะในภาษาบาลี
           
            ๒๓.   ภาษาบาลี ไม่มีรูปอักษรเป็นของตัวเอง ที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบันนี้ เพราะอาศัยภาษาของกลุ่มชนที่รับเอาภาษาบาลีนี้ไปใช้ ดังนั้น จึงอนุโลมโดยใช้ภาษาของชนกลุ่มนั้น ๆ ดังนั้น ในที่นี้จึงใช้หลักเกณฑ์และเครื่องหมายในภาษาไทยมาเขียนด้วย.
วิธีเขียนแทนเสียงสระ
            การเขียนสระ มีวิธีเขียนโดยใช้เครื่องหมาย แบ่งออกเป็น ๒ รูปแบบ ดังนี้คือ
๑.    แบบรูปสระลอย 
๒.  แบบรูปสระจม
ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
๑.แบบรูปสระลอย เป็นการเขียนสระที่ไม่ต้องผสมกับพยัญชนะ คือ แบบที่ไม่มีพยัญชนะอาศัยสระนั้นอยู่ จะใช้ตัว อ ประกอบกับเครื่องหมายที่ใช้เขียนแทนเสียงสระนั้น ๆ ยกเว้นเสียง อ เพียงเสียงเดียวที่จะใช้เพียงแต่ตัว อ เขียน โดยไม่มีรูปวิสรรชนีย์ประกอบอยู่ด้วย  ดังนี้ คือ
 อ  อา  อิ   อี   อุ   อู  เอ โอ
๒.  แบบรูปสระจม  คือ แบบที่มีพยัญชนะอาศัยสระตัวนั้นอยู่ จะต้องเอาตัว  อ ที่   ประกอบกับเครื่องหมายที่ใช้เขียนแทนเสียงสระนั้น ๆ ออก เหลือไว้เพียงรูปเครื่องหมายที่เรียกว่า ลากข้าง เป็นต้น ดังนั้น ในรูปสระจมของเสียง อ (อะ) จึงไม่มีเครื่องหมายอะไร ๆ ให้มองเห็น เพราะ อ จมหายเข้าไปในพยัญชนะ เช่น กฺ + อุ = กุ ดังนี้ คือ
-     -า      - ิ     -ี      -ุ     -ู      เ-      โ-
        การที่จะรู้ว่า มีเสียง อ ที่ใช้ในรูปสระจมนั้น จะกล่าวต่อไปข้างหน้า.
            วิธีเขียนแทนเสียงพยัญชนะ
            การใช้เครื่องหมายแทนตัวหรือเสียงพยัญชนะนั้น มีรูปแบบดังนี้
๑.    แทนเสียงพยัญชนะที่มีสระประกอบท้าย
๒.  แทนเสียงพยัญชนะที่ไม่มีสระประกอบท้าย
๓.   แทนเสียงพยัญชนะตัวสุดท้าย (นิคคหิต)
มีรายละเอียดดังนี้
๑.  แทนพยัญชนะที่มีสระประกอบท้าย 
การเขียนตัวหนังสือแทนเสียงพยัญชนะแบบนี้ เพียงแต่เขียนตัวพยัญชนะตัวนั้น ๆ เพียงอย่างเดียวโดยไม่ต้องเติมเครื่องหมายจุดบอด (.) ไว้ใต้พยัญชนะตัวนั้น ๆ และการเขียนตัว  หรือตัว  นั้น จะไม่ใส่เชิงไว้ข้างใต้.
            ๒.  แทนพยัญชนะที่ไม่มีสระประกอบท้าย
การเขียนในแบบนี้ จะใส่จุดบอด (.)ไว้ใต้พยัญชนะตัวนั้น ๆ เพื่อให้รู้ว่า ไม่มีเสียงสระใด ๆ อยู่ถัดจากพยัญชนะตัวนั้น ๆ.
            ๓. แทนพยัญชนะตัวสุดท้าย (นิคคหิต)
 การใช้เครื่องหมายแทนเสียงนิคคหิตนั้น จะใช้เครื่องหมาย (-  ) หรือที่เรียกว่า หยาดน้ำค้าง เป็นตัวแทน และเครื่องหมายนี้จะมีได้ ก็ต่อเมื่ออยู่ต่อจากสระเสียงสั้น
คือ อ  อิ  อุ เท่านั้น ทั้งที่เป็นรูปสระลอยหรือจม.
            วิธีเขียนพยัญชนะที่ประกอบกับสระ
            เนื่องจากที่ว่า พยัญชนะออกเสียงตามลำพังตนเองไม่ได้ ส่วนสระออกเสียงได้ตามลำพัง ดังนั้น การเขียนรูปสระจึงมีสองแบบตามที่กล่าวมาแล้ว คือ แบบสระลอย (ไม่มีพยัญชนะอาศัย) แบบสระจม (มีพยัญชนะอาศัย)  ส่วนการอาศัยของพยัญชนะนั้น ก็มีอยู่ ๒ แบบด้วยกัน คือ
๑.    แบบที่อาศัยสระเสียงหลัง (ปราสยพยัญชนะ)
๒.  แบบที่อาศัยสระเสียงหน้า (ปุพพาสยพยัญชนะ)
การเขียนพยัญชนะที่อาศัยสระต่างกันนั้น มีวิธีการดังนี้
            ๑. แบบที่อาศัยสระเสียงหลัง (ปราสยพยัญชนะ) 
            พยัญชนะที่อาศัยสระเสียงหลังมี ๓๒ ตัว คือ ตั้งแต่ ก ไปจนถึง ฬ โดยเว้นตัวสุดท้ายเสีย  คือ นิคคหิต การเขียนพยัญชนะร่วมกับสระในแบบนี้ จะใช้รูปสระจมเสมอ ตัวอย่างเช่น     กฺ + อ เป็น ก,     กฺ + อา เป็น กา,  กฺ + อิ เป็น กิ,    กฺ + อี เป็น กี
                        กฺ + อุ เป็น กุ,     กฺ + อู เป็น  กู,    กฺ + เอ เป็น เก,    กฺ + โอ เป็น โอ        
            สำหรับการวางตำแหน่งของตัวหนังสือนั้น ก็เหมือนกับที่ใช้ในการเขียนภาษาไทย และตัวพยัญชนะที่ไม่มีรูปสระจม อื่นใดประกอบอยู่ กับทั้งไม่มีจุดบอด ( . ) อยู่ข้างใต้ พึงทราบว่า พยัญชนะตัวนั้น มีเสียงของสระอ  (อะ) ประกอบอยู่ ดังเช่น ก นั้น. 
๒.  แบบที่อาศัยสระเสียงหน้า (ปุพพาสยพยัญชนะ) 
พยัญชนะที่อาศัยสระเสียงหน้ามีเพียงหน่วยเดียว คือ นิคคหิต อันเป็นพยัญชนะตัวสุดท้าย โดยจะเขียนไว้เหนือตัวหนังสือที่มันเข้าไปเกี่ยวข้อง การเขียนร่วมกับสระก็ใช้ได้กับสระทั้ง ๒ แบบ คือ ทั้งแบบสระลอย และแบบสระจม ดังนี้ คือ
แบบสระลอย เขียนว่า  อ +  เป็น อํ,   อิ +  เป็น อึ,  อุ +  เป็น อุ      
แบบสระจม เขียนว่า กฺ + อ +  เป็น กํ,    กฺ + อิ +  กึ,    กฺ + อุ + เป็น กุ 

บาลีไวยากรณ์เบื้องต้น

บาลีไวยากรณ์เบื้องต้น
นโม  ตสฺส ภควโต  อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาค อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ฯ

      ๑. ไวยากรณ์ คือ วิชาภาษาว่าด้วยรูปคำและระเบียบในการประกอบรูปคำให้เป็นประโยค.
      ๒.  บาลี แปลว่า ภาษาที่รักษา คือบันทึกพระพุทธพจน์ไว้ (พุทฺธวจนํ  ปาเลตีติ  ปาลิ).  บางทีเรียกว่า ภาษามคธ เพราะเป็นภาษาที่ใช้อยู่ในแคว้นมคธ ประเทศอินเดีย ซึ่งเป็นภาษาที่พระพุทธเจ้าใช้แสดงธรรมะ.
      ๓. ภาษาบาลี จัดเป็นภาษาที่แสดงถึงสภาวะ (สภาวนิรุตติ) เพราะเป็นภาษาที่ไม่ผิดไปจากสภาวะและธรรมนั้น. เมื่อกล่าวถึงศัพท์ใด ๆ โดยมากแล้วก็สามารถสืบค้นถึงรากศัพท์อันเป็นตัวบ่งชี้ถึงสภาวธรรมได้หรือความเป็นไปของธรรมชาตินั้น ๆ ได้.
      ๔. บาลีไวยากรณ์ จึงเป็นหลักการศึกษาถึงระเบียบการประกอบรูปคำในภาษาบาลีอันเป็นภาษาที่ใช้บันทึกพระธรรมคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งมาในรูปของพระคัมภีร์พระไตรปิฎก ตลอดจนคัมภีร์ที่เป็นคู่มือของพระไตรปิฎก เช่นอรรถกถา ฎีกาเป็นต้น ดังนั้น ผู้ที่จะศึกษาพระไตรปิฎกให้เข้าใจได้ดี ควรจะได้ศึกษาภาษาบาลีควบคู่กันไปด้วย ดังมีคำกล่าวของนักปราชญ์ว่า
                        โย นิรุตฺตึ น สิกฺเขยฺย                สิกฺขนฺโต ปิฎกตฺตยํ
                        ปเท  ปเท  วิกงฺเขยฺย                  วเน อนฺธคโช ยถา ฯ
                 ผู้ใดไม่สนใจศึกษาคัมภีร์ไวยากรณ์ ผู้นั้น เมื่อศึกษาพระไตรปิฎก
 พึงถึงความสงสัยไปเสียทุกบท ดุจดังคชสารจักษุบอด เที่ยวสะเปะสะปะ
ไปในไพรสณฑ์ ฉะนั้น.
      ๕. ไวยากรณ์บาลีแบ่งเป็น ๔ ภาค ดังนี้คือ
            ๑. อักขรวิธี  คือ ประเภทและวิธีการใช้ตัวอักษร แบ่งออกเป็น ๒ ชนิด คือ
                 ๑.๑ สมัญญาภิธาน  คือ การแสดงและการตั้งชื่ออักษร ทั้งที่เป็นสระ และพยัญชนะ รวมถึงฐาน( ตำแหน่งที่เกิดเสียง มีคอ เป็นต้น)  กรณ์ (อวัยวะที่ช่วยให้ออกเสียงชัดเจน มีท่ามกลางลิ้นเป็นต้น).
                 ๑.๒ สนธิ คือ วิธีการเชื่อมหรือต่อตัวอักษรให้ติดเนื่องกันสนิท
            ๒. วจีวิภาค  คือ ส่วนแห่งคำพูด มี ๖ ประเภท คือ
                 ๒.๑ คำนาม ได้แก่ ชื่อของคน สัตว์ สิ่งของเป็นต้น แบ่งออกเป็น ๓ประเภท คือ
                        ๑) นามนาม (ชื่อของคน สัตว์ สิ่งของ เป็นต้น)
                        ๒) คุณนาม (นามที่แสดงลักษณะของนามนามให้รู้ว่า ชั่ว ดี เป็นต้น )
                        ๓) สัพพนาม (ชื่อที่ใช้แทนนามนาม ที่กล่าวมาแล้ว).
                 ๒.๒ อัพยยศัพท์ ได้แก่ คำศัพท์ที่คงรูปเดิมของตนไว้เช่นนั้น มิได้เปลี่ยนแปลงไปเพราะวิภัติ และปัจจัยเป็นต้น มี ๓ ประเภท คือ
                        ๑) อุปสัค (คำที่ใช้เติมข้างหน้าคำอื่น เพื่อให้มีความหมายต่างออกไป)
                        ๒) นิบาต (คำที่ใช้เติมลงในระหว่างคำพูด)
                        ๓) ปัจจัย (คำเติมท้ายนามศัพท์)
                 ๒.๓ คำสมาส ได้แก่ คำศัพท์ที่ได้จากการย่อนามศัพท์ ตั้งแต่ ๒ บทขึ้นไปมารวมเป็นบทเดียว มี ๖ ประเภทคือ
                        ๑) กัมมธารยสมาส สมาสที่รวมคำพูด ๒ คำอันมีความหมายเสมอกันไว้.
                        ๒) ทิคุสมาส สมาสที่มีบทหน้าเป็นสังขยาศัพท์ (จำนวนนับหรือตัวลข)
                        ๓) ตัปปุริสสมาส สมาสที่ย่อคำนามที่ประกอบด้วยวิภัติต่าง ๆ ซึ่งเป็นบทหน้าเข้ากับบทหลัง.
                        ๔) ทวันทวสมาส สมาสที่รวมนามนาม ๒ ศัพท์ ที่มีความหมายไม่เหมือนกันเข้ากันไว้.
                        ๕) อัพยยีภาวสมาส สมาสที่มีอุปสัคเป็นต้นอยู่ข้างหน้า
                        ๖) พหุพพิหิสมาส สมาสที่มีบทอื่นเป็นประธาน คือระบุถึงบทอื่นจากบทที่ถูกย่อ
                 ๒.๔ ตัทธิต ได้แก่ การย่อคำพูดไว้ โดยใช้ปัจจัย (เครื่องหมาย) เป็นตัวแทนเพื่อสื่อถึงความหมายที่ได้ย่อไว้. แบ่งออกเป็น ๓ ประเภทใหญ่ ๆ คือ
                        ๑) สามัญญตัทธิต ใช้แทนศัพท์ได้ทั่วไป มีโคตตตัทธิต ที่ใช้แทนคำว่า โคตร เป็นต้น
                        ๒) อัพยยตัทธิต ใช้ปัจจัยแทนเฉพาะอัพยยศัพท์เท่านั้น
                        ๓) ภาวตัทธิต ใช้ปัจจัยแทนเฉพาะภาวศัพท์ (ที่แปลว่า ความเป็น)เท่านั้น.
                        ๒.๕ อาขยาต ได้แก่ บทกริยา ซึ่งประกอบด้วยวิภัตติ กาล บท วจนะ บุรุษ ธาตุ วาจก ปัจจัย  จัดเป็นกิริยาที่เป็นหลักของประโยค บางทีเรียกว่า กิริยาคุมพากย์ เพราะแสดงถึงความเป็นไปของประโยคนั้น ๆ ว่าเป็นอย่างไร เป็นต้น.
                 ๒.๖  กิตก์ ได้แก่ บทที่สำเร็จมาจากธาตุ (รากศัพท์) โดยประกอบกับคำศัพท์ชนิดหนึ่งที่เรียกว่า ปัจจัย แบ่งออกเป็น ๒ ประเภท
                        ๑) นามกิตก์  สำเร็จเป็นนามศัพท์
                        ๒) กิริยากิตก์ สำเร็จเป็นบทกิริยา
            ๓. วากยสัมพันธ์ ได้แก่ การเรียนรู้ถึงการกะ คือ หน้าที่ของคำนามที่ประกอบกับวิภัตตินาม ทั้ง ๗ วิภัตติ แล้วมีความหมายอย่างไร ทำหน้าที่อย่างไร ตลอดจนถึงศึกษาวิธีประกอบคำศัพท์ต่าง ๆ ในวจีวิภาคเข้าเป็นประโยค เพื่อเป็นการแต่งหนังสือ อีกทั้งเป็นการศึกษาวิธีการแปลหนังสือที่ได้แต่งมาแล้ว
            ๔ . ฉันทลักษณ์ ได้แก่ วิธีการแต่งคำพูดธรรมดา ให้เป็นคำฉันท์ โดยยึดหลักการออกเสียงหนักและเบาเป็นต้น เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า คาถา (ไม่ใช่คาถาอาคม ในภาษาไทย)  ส่วนคำพูดธรรมดา (ตรงกับคำว่า ร้อยแก้ว ในภาษาไทย)  บางทีเรียกว่า จุณณียะ
            ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ เป็นการแนะนำให้รู้จักชื่อและโครงสร้างของไวยากรณ์ก่อน ซึ่งในแต่ละประเภทมีรายละเอียดที่ต้องศึกษาอีกมากมาย จะได้กล่าวโดยพิสดารต่อไป.


ที่มา : http://primaypaligrmmar.blogspot.com/2013/10/blog-post.html

พุทธศาสนสุภาษิต

พุทธศาสนสุภาษิต

สุภาษิต แปลว่า  ถ้อยคำที่กล่าวไว้ดี (สุ=ดี,  ภาษิต=กล่าว) สามารถนำมาเป็นคติ   ยึดถือเป็นหลักใจได้

พุทธศาสนสุภาษิต  หมายถึง ถ้อยคำดีๆ ในพระพุทธศาสนา  แต่มิได้หมายความเฉพาะคำที่พระพุทธองค์ตรัสไว้เท่านั้น แม้สุภาษิตแทบทั้งหมดจะเป็นพระพุทธพจน์ก็ตาม

เช่น ถ้าเป็นภาษิตพระสัมมาสัมพุทธตรัสเอง เรียกว่า พุทธภาษิต / พุทธสุภาษิต (หรือ พระพุทธพจน์)   ถ้าพระโพธิสัตว์ กล่าวเรียกว่า โพธิสัตว์ภาษิต    ถ้าพระสาวกกล่าว ก็เรียกว่า เถรภาษิต บ้าง สาวกภาษิต บ้าง     แม้แต่คำที่เทวดากล่าว และพระพุทธองค์ได้ตรัสรับรองว่าดีด้วยการตรัสคำนั้นซ้ำ  เรียกว่า เทวดาภาษิต เป็นต้น

วิธีการอ่านภาษาบาลี คลิกที่นี่

ดาวน์โหลดไฟล์พุทธสุภาษิตรวม 1,517 สุภาษิต คลิ๊กที่นี่ (จัดทำโดย kusol.com)

ดูข้อมูลอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับพระพุทธเจ้า คลิ๊กที่นี่

          พุทธศาสนสุภาษิต : พระราชา

ราชา รฏฺฐสฺส ปญฺญาณํ
พระราชาเป็นเครื่องปรากฏของแว่นแคว้น
ราชา มุขํ นุสฺสสานํ
พระราชาเป็นประมุขของประชาชน
สพฺพํ รฏฺฐํ สุขํ โหตุ ราชา เจ โหติ ธมฺมิโก
ถ้าพระราชาเป็นผู้ทรงธรรม ราษฎรทั้งปวงก็เป็นสุข
กุทฺธํ อปฺปฏิกุชฺฌนฺโต ราชา รฏฺฐสฺส ปูชิโต
พระราชาผู้ไม่กริ้วตอบผู้โกรธ ราษฎรก็บูชา
สนฺนทฺโธ ขตฺติโย ตปติ
พระมหากษัตริย์ทรงเครื่องรบย่อมสง่า
ขตฺติโย เสฏฺโฐ ชเนตสฺมิง เย โคตฺตปฏิสาริโน
พระมหากษัตริย์เป็นผู้ประเสริฐสุดในหมู่ชนผู้รังเกียจด้วยสกุล

           พุทธศาสนสุภาษิต : สิ่งที่เป็นการยาก

กิจฺโฉ มนุสฺสปฏิลาโภ
ความได้เป็นมนุษย์เป็นการยาก
กิจฺฉํ มจฺจาน ชีวิตํ
ความเป็นอยู่ของสัตว์เป็นการยาก
กิจฺฉํ สทฺธมฺมสฺสวนํ
การฟังธรรมของสัตบุรุษเป็นการยาก
กิจฺโฉ พุทฺธานมุปฺปาโท
ความเกิดขึ้นแห่งท่านผู้รู้เป็นการยาก
ทุลฺลภํ ทสฺสนํ โหติ สมฺพุทฺธานํ อภิณฺหโส
การเห็นพระพุทธเจ้าเนืองๆ เป็นการหาได้ยาก

           พุทธศาสนสุภาษิต : ทรัพย์และอนิจจัง 

น จาปิ วิตฺเตน ชรํ วิหนฺติ
กำจัดความแก่ด้วยทรัพย์ไม่ได้
น ทีฆมายุง ลภเต ธเนน
คนไม่ได้อายุยืนเพราะทรัพย์
สพฺเพ ว นิกฺขิปิสฺสนฺติ ภูตา โลเก สมุสฺสยํ
สัตว์ทั้งปวง จักทอดทิ้งร่างไว้ในโลก
อฑฺฒา เจว ทฬิทฺทา จ สพฺเพ มจฺจุปรายนา
ทั้งคนมีทั้งคนจน ล้วนมีความตายเป็นเบื้องหน้า
อปฺปกญฺจิทํ ชีวตมาหุธีรา
ปราชญ์กล่าวว่าชีวิตนี้น้อยนัก
น หิ โน สงฺครนฺเตน มหาเสเนน มจฺจุนา
ความผัดเพื่อนกับมฤตยู อันมีกองทัพใหญ่นั้น ไม่ได้เลย
ยงฺกิญฺจิ สมุทยธมฺมํ สพฺพนฺตํ นิโรธธมฺมํ
สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา
ภิยฺโย จ กาเม อภิปตฺถยนฺติ
ผู้บริโภคกาม ย่อมปรารถนากามยิ่งขึ้นไป
ชรูปนีตสฺส น สนฺติ ตาณา
เมื่อสัตว์ถูกชรานำเข้าไปแล้ว ไม่มีผู้ป้องกัน
น มิยฺยมานสฺส ภวนฺติ ตาณา
เมื่อสัตว์จะตาย ไม่มีผู้ป้องกัน
น มิยฺยามานํ ธมฺมนฺเวติ กิญฺจิ
ทรัพย์สักนิดก็ติดตามคนตายไปไม่ได้
สงฺขารา ปรมา ทุกฺขา
สังขารเป็นทุกข์อย่างยิ่ง
ขโณ โว มา อุปจฺจคา
ขณะอย่าล่วงท่านทั้งหลายไปเสีย
อติปตฺติ วโย ขโณ ตเถว
วัยย่อมผ้านพ้นไปเหมือนขณะทีเดียว
กาโล ฆสติ ภูตานิ สพฺพาเนว สหตฺตนา
กาลเวลาย่อมกินสรรพสัตว์กับทั้งตัวมันเอง

           พุทธศาสนสุภาษิต : ความโกรธ

โกธํ ฆตฺวา น โสจติ
ฆ่าความโกรธได้แล้วย่อมไม่เศร้าโศก
โกโธ สตฺถมลํ โลเก
ความโกรธเป็นดังสนิมศัสตราในโลก
โกธํ ฆตฺวา สุขํ เสติ
ฆ่าความโกรธได้แล้วย่อมอยู่เป็นสุข

           พุทธศาสนสุภาษิต : ความทุกข์

ทฬิทฺทิยํ ทุกฺขํ โลเก
ความจนเป็นทุกข์ในโลก
อิณาทานํ ทุกฺขํ โลเก
การกู้หนี้ เป็นทุกข์ในโลก
ทุราวาสา ฆรา ทุกฺขา
เหย้าเรือนที่ปกครองไม่ดี นำทุกข์มาให้
สงฺขารา ปรมา ทุกฺขา
สังขารเป็นทุกข์อย่างยิ่ง

           พุทธศาสนสุภาษิต : สหาย

อตฺถมฺหิ ชาตมฺหิ สุขา สหายา
เมื่อความต้องการเกิดขึ้น สหายเป็นผู้นำสุขมาให้
สเจ ลเภถ นิปกํ สหายํ จเรยฺย เตนตฺตมโน สติมา
ถ้าได้สหายผู้รอบคอบพึงพอใจมีสติเที่ยวไปกับเขา
ปาปมิตฺโต ปาปสโข ปาปอาจารโคจโร
มีมิตรเลว มีเพื่อนเลว ย่อมมีมรรยาทและมีที่เที่ยวเลว
นตฺถิ พาเล สหายตา
ความเป็นสหาย ไม่มีในคนพาล
ภริยา ปรมา สขา
ภริยาเป็นเพื่อนสนิท, ภรรยาเป็นสหายอย่างยิ่ง

            พุทธศาสนสุภาษิต : มลทิน

อสชฺฌายมลา มนฺตา
มนต์มีการไม่ท่องบ่น เป็นมลทิน
อนุฏฺฐานมลา ฆรา
เหย้าเรือนมีความไม่หมั่นเป็นมลทิน
มลํ วณฺณสฺส โกสชฺชํ
ความเกียจค้านเป็นมลทินแห่งผิวพรรณ
มลิตฺถิยา ทุจฺจริตํ
ความประพฤติชั่วเป็นมลทินของหญิง

           พุทธศาสนสุภาษิต : บริสุทธิ์

สุทฺธิ อสุทฺธิ ปจฺจตฺตํ
ความบริสุทธิ์และความไม่บริสุทธิ์มีเฉพาะตัว
นาญฺโญ อญฺญํ วิโสธเย
ผู้อื่นพึงทำให้ผู้อื่นบริสุทธิ์ไม่ได้
สุทฺธสฺส สุจิกมฺมสฺส สทา สมฺปชฺชเต วตํ
พรตของผู้บริสุทธิ์มีการงานสะอาด ย่อมถึงพร้อมทุกเมื่อ

           พุทธศาสนสุภาษิต : การชนะ

สพฺพรติง ธมฺมรติ ชินาติ
ความยินดีในธรรมย่อมชนะความยินดีทั้งปวง
ตณฺหกฺขโย สพฺพทุกฺขํ ชินาติ
ความสิ้นตัณหา ย่อมชนะทุกข์ทั้งปวง
น หิ ชิตํ สาธุ ชิตํ ยํ ชิตํ อวชิยฺยติ
ความชนะที่ไม่กลับแพ้เป็นดี
อสาธุง สาธุนา ชิเน
พึงชนะคนไม่ดี ด้วยความดีของตน
ชิเน กทริยํ ทาเนน
พึงชนะคนตระหนี่ ด้วยการให้
สจฺเจนาลิกวาทินํ
พึงชนะคนพูดปดด้วยคำจริง

            พุทธศาสนสุภาษิต : หว่านพืชเช่นใด ได้ผลเช่นนั้น

อคฺคสฺส ทาตา ลภเต ปุนคฺคํ
ผู้ให้สิ่งที่เลิศ ย่อมได้สิ่งที่เลิศอีก
มนาปทายี ลภเต มนาปํ
ผู้ให้สิ่งที่ชอบใจ ย่อมได้สิ่งที่ชอบใจ
เสฏฺฐนฺทโท เสฏฺฐมุเปติ ฐานํ
ผู้ให้สิ่งที่ประเสริฐ ย่อมถึงฐานะที่ประเสริฐ
ททโต ปุญฺญํ ปวฑฺฒติ
บุญของผู้ให้ย่อมเจริญ
ทเทยฺย ปุรโส ทานํ
คนควรให้ทาน
ปุญฺญมากงฺขมานานํ สงฺโฆ เว ยชตํ มุขํ
พระสงฆ์นั้นแล เป็นประมุขของเหล่าชนผู้จำนงบุญบูชาอยู่

            พุทธศาสนสุภาษิต : ผู้ครองเรือน

ทุราวาสา ฆรา ทุกฺขา
เหย้าเรือนที่ปกครองไม่ดี นำทุกข์มาให้ฯ
อนุฏฺฐานมลา ฆรา
เหย้าเรือนมีความไม่หมั่น เป็นมลทินฯ
โภคา สนฺนิจฺจยํ ยนฺติ วมฺมิโก วุปจียติ
โภคทรัพย์ของผู้ครองเรือนดี ย่อมถึงความพอกพูน เหมือนจอมปลวกกำลังก่อขึ้นฯ

            พุทธศาสนสุภาษิต : ภรรยา

ภตฺตา ปุญฺญาณมิตฺถิยา
ภัสดาเป็นสง่าของสตรีฯ
ภตฺตารํ นาติมญฺญติ
ภรรยาดี ไม่ดูหมิ่นภัสดา
ภตฺตุ ฉนฺทวสานุคา
ภรรยาย่อมคล้อยตามอำนาจแห่งความพอใจของภัสดา
ภตฺตุญฺจ ครุโน สพฺเพ ปฏิปูเชติ ปณฺฑิตา
ภรรยาผู้ฉลาดย่อมนับถือภัสดาและคนควรเคารพทั้งปวง
ภตฺตุมนา ปญฺจรติ
ภรรยาดีย่อมประพฤติเป็นที่พอใจของภัสดา
สมฺภตํ อนุรกฺขติ
ภรรยาดีย่อมคอยรักษาทรัพย์ที่ภัสดาหามาได้ไว้
สุสํวิหิตกมฺมนฺตา
ภรรยาดีเป็นผู้จัดทำการงานดี
สุสฺสูสา เสฏฺฐา ภริยานํ
บรรดาภิรยาทั้งหลาย ภริยาผู้เชื่อฟังเป็นผู้ประเสริฐ

             พุทธศาสนสุภาษิต : วาจา

หทยสฺส สทิสี วาจา
วาจาเช่นเดียวกับใจ
สํโวหาเรน โสเจยฺยํ เวทิตพฺพํ
ความเป็นผู้สะอาด พึงทราบได้ด้วยถ้อยคำสำนวน
ทุฏฺฐสฺส ผรุสวาจา
คนโกรธมีวาจาหยาบคาย
มุตฺวา ตปฺปติ ปาปิกํ
คนเปล่งวาจาชั่วย่อมทำตนให้เดือดร้อน
อภูตวาที นิรยํ อุเปติ
คนพูดไม่จริง ย่อมเข้าถึงนรก
สณฺหํ คิรํ อตฺถาวหํ ปมุญฺจ
ควรเปล่งวาจาให้ไพเราะที่มีประโยชน์
ตเมว วาจํ ภาเสยฺย ยายตฺตานํ น ตาปเย
ควรกล่าวแต่วาจาที่ไม่ยังตนให้เดือดร้อน
น หิ มุญฺเจยฺย ปาปิกํ
ไม่ควรเปล่งวาจาชั่วเลย
สํโวหาเรน โสเจยฺยํ กลฺยาณิง
ควรเปล่งวาจางาม ให้เป็นที่พอใจฯ
วาจํ มุญฺเจยฺย กลฺยาณิง
ควรเปล่งวาจางาม
โมกฺโข กลฺยาณิกา สาธุ
เปล่งวาจางาม ยังประโยชน์ให้สำเร็จ
มนุญฺญเมว ภาเสยฺย
ควรกล่าวแต่วาจาที่น่าพอใจ
นามนุญฺญํ กุทาจนํ
ในกาลไหนๆ ไม่ควรกล่าววาจาไม่น่าพอใจ
วาจํ ปมุญฺเจ กุสลํ นาติเวลํ
ไม่ควรกล่าววาจาที่ดี ให้เกินกาล

            พุทธศาสนสุภาษิต : ความกตัญญูและพรหมวิหาร

หิริโอตฺตปฺ ปิยญฺเญว โลกํ ปาเลติ สาธุกํ
หิริและโอตตับปปะ ย่อมรักษาโลกไว้เป็นอันดี
โลโกปตฺถมฺภิกา เมตฺตา
เมตตาเป็นเครื่องค้ำจุนโลก
อรติ โลกนาสิกา
ความริษยาเป็นเหตุทำโลกให้ฉิบหาย
มหาปุริสภาวสฺส ลกฺขณํ กรุณาสโห
อัชฌาศัยที่ทนไม่ได้เพราะกรุณาเป็นลักษณะของความเป็นมหาบุรุษ
นิมิตฺตํ สาธุรูปานํ กตญฺญูกตเวทิตา
ความกตัญญูกตเวทีเป็นเครื่องหมายแห่งคนดี
สพฺพญฺเจ ปฐวิง ทชฺชา เนว นํ อภิราธเย
ถึงแม้ให้แผ่นดินทั้งหมดก็ยังคนอกตัญญูให้จงรักไม่ได้

            พุทธศาสนสุภาษิต : คนชั่วกับลาภสักการะ

หนฺติ โภคา ทุมฺเมธํ
โภคทรัพย์ย่อมฆ่าคนมีปัญญาทราม
สกฺกาโร กาปุริสํ หนฺติ
สักการะ ย่อมฆ่าคนชั่วเสีย

            พุทธศาสนสุภาษิต : การงาน

อกิลาสุ วินฺเท หทยสฺส สนฺติง
คนไม่เกียจคร้าน พึงได้รับความสงบใจ
สุทสฺสํ วชฺชมญฺเญสํ อตฺตโน ปน ทุทฺทสํ
ความผิดของผู้อื่นเห็นง่าย ฝ่ายของตนเห็นยาก
อิติ วิสฺสฏฺฐกมฺมนฺเต อตฺถา อจฺเจนฺติ มาณเว
ประโยชน์ย่อมล่วงเลยคนหนุ่มผู้ทอดทิ้งการงาน
นกฺขตฺตํ ปฏิมาเนนฺตํ อตฺโถ พาลํ อุปจฺจคา
ประโยชน์ย่อมล่วงเลยคนโง่ผู้มัวถือฤกษ์อยู่

ที่มา : http://www.fungdham.com/proverb.html