วันพุธที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

การเขียนสระและพยัญชนะในภาษาบาลี

การเขียนสระและพยัญชนะในภาษาบาลี
           
            ๒๓.   ภาษาบาลี ไม่มีรูปอักษรเป็นของตัวเอง ที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบันนี้ เพราะอาศัยภาษาของกลุ่มชนที่รับเอาภาษาบาลีนี้ไปใช้ ดังนั้น จึงอนุโลมโดยใช้ภาษาของชนกลุ่มนั้น ๆ ดังนั้น ในที่นี้จึงใช้หลักเกณฑ์และเครื่องหมายในภาษาไทยมาเขียนด้วย.
วิธีเขียนแทนเสียงสระ
            การเขียนสระ มีวิธีเขียนโดยใช้เครื่องหมาย แบ่งออกเป็น ๒ รูปแบบ ดังนี้คือ
๑.    แบบรูปสระลอย 
๒.  แบบรูปสระจม
ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
๑.แบบรูปสระลอย เป็นการเขียนสระที่ไม่ต้องผสมกับพยัญชนะ คือ แบบที่ไม่มีพยัญชนะอาศัยสระนั้นอยู่ จะใช้ตัว อ ประกอบกับเครื่องหมายที่ใช้เขียนแทนเสียงสระนั้น ๆ ยกเว้นเสียง อ เพียงเสียงเดียวที่จะใช้เพียงแต่ตัว อ เขียน โดยไม่มีรูปวิสรรชนีย์ประกอบอยู่ด้วย  ดังนี้ คือ
 อ  อา  อิ   อี   อุ   อู  เอ โอ
๒.  แบบรูปสระจม  คือ แบบที่มีพยัญชนะอาศัยสระตัวนั้นอยู่ จะต้องเอาตัว  อ ที่   ประกอบกับเครื่องหมายที่ใช้เขียนแทนเสียงสระนั้น ๆ ออก เหลือไว้เพียงรูปเครื่องหมายที่เรียกว่า ลากข้าง เป็นต้น ดังนั้น ในรูปสระจมของเสียง อ (อะ) จึงไม่มีเครื่องหมายอะไร ๆ ให้มองเห็น เพราะ อ จมหายเข้าไปในพยัญชนะ เช่น กฺ + อุ = กุ ดังนี้ คือ
-     -า      - ิ     -ี      -ุ     -ู      เ-      โ-
        การที่จะรู้ว่า มีเสียง อ ที่ใช้ในรูปสระจมนั้น จะกล่าวต่อไปข้างหน้า.
            วิธีเขียนแทนเสียงพยัญชนะ
            การใช้เครื่องหมายแทนตัวหรือเสียงพยัญชนะนั้น มีรูปแบบดังนี้
๑.    แทนเสียงพยัญชนะที่มีสระประกอบท้าย
๒.  แทนเสียงพยัญชนะที่ไม่มีสระประกอบท้าย
๓.   แทนเสียงพยัญชนะตัวสุดท้าย (นิคคหิต)
มีรายละเอียดดังนี้
๑.  แทนพยัญชนะที่มีสระประกอบท้าย 
การเขียนตัวหนังสือแทนเสียงพยัญชนะแบบนี้ เพียงแต่เขียนตัวพยัญชนะตัวนั้น ๆ เพียงอย่างเดียวโดยไม่ต้องเติมเครื่องหมายจุดบอด (.) ไว้ใต้พยัญชนะตัวนั้น ๆ และการเขียนตัว  หรือตัว  นั้น จะไม่ใส่เชิงไว้ข้างใต้.
            ๒.  แทนพยัญชนะที่ไม่มีสระประกอบท้าย
การเขียนในแบบนี้ จะใส่จุดบอด (.)ไว้ใต้พยัญชนะตัวนั้น ๆ เพื่อให้รู้ว่า ไม่มีเสียงสระใด ๆ อยู่ถัดจากพยัญชนะตัวนั้น ๆ.
            ๓. แทนพยัญชนะตัวสุดท้าย (นิคคหิต)
 การใช้เครื่องหมายแทนเสียงนิคคหิตนั้น จะใช้เครื่องหมาย (-  ) หรือที่เรียกว่า หยาดน้ำค้าง เป็นตัวแทน และเครื่องหมายนี้จะมีได้ ก็ต่อเมื่ออยู่ต่อจากสระเสียงสั้น
คือ อ  อิ  อุ เท่านั้น ทั้งที่เป็นรูปสระลอยหรือจม.
            วิธีเขียนพยัญชนะที่ประกอบกับสระ
            เนื่องจากที่ว่า พยัญชนะออกเสียงตามลำพังตนเองไม่ได้ ส่วนสระออกเสียงได้ตามลำพัง ดังนั้น การเขียนรูปสระจึงมีสองแบบตามที่กล่าวมาแล้ว คือ แบบสระลอย (ไม่มีพยัญชนะอาศัย) แบบสระจม (มีพยัญชนะอาศัย)  ส่วนการอาศัยของพยัญชนะนั้น ก็มีอยู่ ๒ แบบด้วยกัน คือ
๑.    แบบที่อาศัยสระเสียงหลัง (ปราสยพยัญชนะ)
๒.  แบบที่อาศัยสระเสียงหน้า (ปุพพาสยพยัญชนะ)
การเขียนพยัญชนะที่อาศัยสระต่างกันนั้น มีวิธีการดังนี้
            ๑. แบบที่อาศัยสระเสียงหลัง (ปราสยพยัญชนะ) 
            พยัญชนะที่อาศัยสระเสียงหลังมี ๓๒ ตัว คือ ตั้งแต่ ก ไปจนถึง ฬ โดยเว้นตัวสุดท้ายเสีย  คือ นิคคหิต การเขียนพยัญชนะร่วมกับสระในแบบนี้ จะใช้รูปสระจมเสมอ ตัวอย่างเช่น     กฺ + อ เป็น ก,     กฺ + อา เป็น กา,  กฺ + อิ เป็น กิ,    กฺ + อี เป็น กี
                        กฺ + อุ เป็น กุ,     กฺ + อู เป็น  กู,    กฺ + เอ เป็น เก,    กฺ + โอ เป็น โอ        
            สำหรับการวางตำแหน่งของตัวหนังสือนั้น ก็เหมือนกับที่ใช้ในการเขียนภาษาไทย และตัวพยัญชนะที่ไม่มีรูปสระจม อื่นใดประกอบอยู่ กับทั้งไม่มีจุดบอด ( . ) อยู่ข้างใต้ พึงทราบว่า พยัญชนะตัวนั้น มีเสียงของสระอ  (อะ) ประกอบอยู่ ดังเช่น ก นั้น. 
๒.  แบบที่อาศัยสระเสียงหน้า (ปุพพาสยพยัญชนะ) 
พยัญชนะที่อาศัยสระเสียงหน้ามีเพียงหน่วยเดียว คือ นิคคหิต อันเป็นพยัญชนะตัวสุดท้าย โดยจะเขียนไว้เหนือตัวหนังสือที่มันเข้าไปเกี่ยวข้อง การเขียนร่วมกับสระก็ใช้ได้กับสระทั้ง ๒ แบบ คือ ทั้งแบบสระลอย และแบบสระจม ดังนี้ คือ
แบบสระลอย เขียนว่า  อ +  เป็น อํ,   อิ +  เป็น อึ,  อุ +  เป็น อุ      
แบบสระจม เขียนว่า กฺ + อ +  เป็น กํ,    กฺ + อิ +  กึ,    กฺ + อุ + เป็น กุ 

บาลีไวยากรณ์เบื้องต้น

บาลีไวยากรณ์เบื้องต้น
นโม  ตสฺส ภควโต  อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาค อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ฯ

      ๑. ไวยากรณ์ คือ วิชาภาษาว่าด้วยรูปคำและระเบียบในการประกอบรูปคำให้เป็นประโยค.
      ๒.  บาลี แปลว่า ภาษาที่รักษา คือบันทึกพระพุทธพจน์ไว้ (พุทฺธวจนํ  ปาเลตีติ  ปาลิ).  บางทีเรียกว่า ภาษามคธ เพราะเป็นภาษาที่ใช้อยู่ในแคว้นมคธ ประเทศอินเดีย ซึ่งเป็นภาษาที่พระพุทธเจ้าใช้แสดงธรรมะ.
      ๓. ภาษาบาลี จัดเป็นภาษาที่แสดงถึงสภาวะ (สภาวนิรุตติ) เพราะเป็นภาษาที่ไม่ผิดไปจากสภาวะและธรรมนั้น. เมื่อกล่าวถึงศัพท์ใด ๆ โดยมากแล้วก็สามารถสืบค้นถึงรากศัพท์อันเป็นตัวบ่งชี้ถึงสภาวธรรมได้หรือความเป็นไปของธรรมชาตินั้น ๆ ได้.
      ๔. บาลีไวยากรณ์ จึงเป็นหลักการศึกษาถึงระเบียบการประกอบรูปคำในภาษาบาลีอันเป็นภาษาที่ใช้บันทึกพระธรรมคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งมาในรูปของพระคัมภีร์พระไตรปิฎก ตลอดจนคัมภีร์ที่เป็นคู่มือของพระไตรปิฎก เช่นอรรถกถา ฎีกาเป็นต้น ดังนั้น ผู้ที่จะศึกษาพระไตรปิฎกให้เข้าใจได้ดี ควรจะได้ศึกษาภาษาบาลีควบคู่กันไปด้วย ดังมีคำกล่าวของนักปราชญ์ว่า
                        โย นิรุตฺตึ น สิกฺเขยฺย                สิกฺขนฺโต ปิฎกตฺตยํ
                        ปเท  ปเท  วิกงฺเขยฺย                  วเน อนฺธคโช ยถา ฯ
                 ผู้ใดไม่สนใจศึกษาคัมภีร์ไวยากรณ์ ผู้นั้น เมื่อศึกษาพระไตรปิฎก
 พึงถึงความสงสัยไปเสียทุกบท ดุจดังคชสารจักษุบอด เที่ยวสะเปะสะปะ
ไปในไพรสณฑ์ ฉะนั้น.
      ๕. ไวยากรณ์บาลีแบ่งเป็น ๔ ภาค ดังนี้คือ
            ๑. อักขรวิธี  คือ ประเภทและวิธีการใช้ตัวอักษร แบ่งออกเป็น ๒ ชนิด คือ
                 ๑.๑ สมัญญาภิธาน  คือ การแสดงและการตั้งชื่ออักษร ทั้งที่เป็นสระ และพยัญชนะ รวมถึงฐาน( ตำแหน่งที่เกิดเสียง มีคอ เป็นต้น)  กรณ์ (อวัยวะที่ช่วยให้ออกเสียงชัดเจน มีท่ามกลางลิ้นเป็นต้น).
                 ๑.๒ สนธิ คือ วิธีการเชื่อมหรือต่อตัวอักษรให้ติดเนื่องกันสนิท
            ๒. วจีวิภาค  คือ ส่วนแห่งคำพูด มี ๖ ประเภท คือ
                 ๒.๑ คำนาม ได้แก่ ชื่อของคน สัตว์ สิ่งของเป็นต้น แบ่งออกเป็น ๓ประเภท คือ
                        ๑) นามนาม (ชื่อของคน สัตว์ สิ่งของ เป็นต้น)
                        ๒) คุณนาม (นามที่แสดงลักษณะของนามนามให้รู้ว่า ชั่ว ดี เป็นต้น )
                        ๓) สัพพนาม (ชื่อที่ใช้แทนนามนาม ที่กล่าวมาแล้ว).
                 ๒.๒ อัพยยศัพท์ ได้แก่ คำศัพท์ที่คงรูปเดิมของตนไว้เช่นนั้น มิได้เปลี่ยนแปลงไปเพราะวิภัติ และปัจจัยเป็นต้น มี ๓ ประเภท คือ
                        ๑) อุปสัค (คำที่ใช้เติมข้างหน้าคำอื่น เพื่อให้มีความหมายต่างออกไป)
                        ๒) นิบาต (คำที่ใช้เติมลงในระหว่างคำพูด)
                        ๓) ปัจจัย (คำเติมท้ายนามศัพท์)
                 ๒.๓ คำสมาส ได้แก่ คำศัพท์ที่ได้จากการย่อนามศัพท์ ตั้งแต่ ๒ บทขึ้นไปมารวมเป็นบทเดียว มี ๖ ประเภทคือ
                        ๑) กัมมธารยสมาส สมาสที่รวมคำพูด ๒ คำอันมีความหมายเสมอกันไว้.
                        ๒) ทิคุสมาส สมาสที่มีบทหน้าเป็นสังขยาศัพท์ (จำนวนนับหรือตัวลข)
                        ๓) ตัปปุริสสมาส สมาสที่ย่อคำนามที่ประกอบด้วยวิภัติต่าง ๆ ซึ่งเป็นบทหน้าเข้ากับบทหลัง.
                        ๔) ทวันทวสมาส สมาสที่รวมนามนาม ๒ ศัพท์ ที่มีความหมายไม่เหมือนกันเข้ากันไว้.
                        ๕) อัพยยีภาวสมาส สมาสที่มีอุปสัคเป็นต้นอยู่ข้างหน้า
                        ๖) พหุพพิหิสมาส สมาสที่มีบทอื่นเป็นประธาน คือระบุถึงบทอื่นจากบทที่ถูกย่อ
                 ๒.๔ ตัทธิต ได้แก่ การย่อคำพูดไว้ โดยใช้ปัจจัย (เครื่องหมาย) เป็นตัวแทนเพื่อสื่อถึงความหมายที่ได้ย่อไว้. แบ่งออกเป็น ๓ ประเภทใหญ่ ๆ คือ
                        ๑) สามัญญตัทธิต ใช้แทนศัพท์ได้ทั่วไป มีโคตตตัทธิต ที่ใช้แทนคำว่า โคตร เป็นต้น
                        ๒) อัพยยตัทธิต ใช้ปัจจัยแทนเฉพาะอัพยยศัพท์เท่านั้น
                        ๓) ภาวตัทธิต ใช้ปัจจัยแทนเฉพาะภาวศัพท์ (ที่แปลว่า ความเป็น)เท่านั้น.
                        ๒.๕ อาขยาต ได้แก่ บทกริยา ซึ่งประกอบด้วยวิภัตติ กาล บท วจนะ บุรุษ ธาตุ วาจก ปัจจัย  จัดเป็นกิริยาที่เป็นหลักของประโยค บางทีเรียกว่า กิริยาคุมพากย์ เพราะแสดงถึงความเป็นไปของประโยคนั้น ๆ ว่าเป็นอย่างไร เป็นต้น.
                 ๒.๖  กิตก์ ได้แก่ บทที่สำเร็จมาจากธาตุ (รากศัพท์) โดยประกอบกับคำศัพท์ชนิดหนึ่งที่เรียกว่า ปัจจัย แบ่งออกเป็น ๒ ประเภท
                        ๑) นามกิตก์  สำเร็จเป็นนามศัพท์
                        ๒) กิริยากิตก์ สำเร็จเป็นบทกิริยา
            ๓. วากยสัมพันธ์ ได้แก่ การเรียนรู้ถึงการกะ คือ หน้าที่ของคำนามที่ประกอบกับวิภัตตินาม ทั้ง ๗ วิภัตติ แล้วมีความหมายอย่างไร ทำหน้าที่อย่างไร ตลอดจนถึงศึกษาวิธีประกอบคำศัพท์ต่าง ๆ ในวจีวิภาคเข้าเป็นประโยค เพื่อเป็นการแต่งหนังสือ อีกทั้งเป็นการศึกษาวิธีการแปลหนังสือที่ได้แต่งมาแล้ว
            ๔ . ฉันทลักษณ์ ได้แก่ วิธีการแต่งคำพูดธรรมดา ให้เป็นคำฉันท์ โดยยึดหลักการออกเสียงหนักและเบาเป็นต้น เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า คาถา (ไม่ใช่คาถาอาคม ในภาษาไทย)  ส่วนคำพูดธรรมดา (ตรงกับคำว่า ร้อยแก้ว ในภาษาไทย)  บางทีเรียกว่า จุณณียะ
            ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ เป็นการแนะนำให้รู้จักชื่อและโครงสร้างของไวยากรณ์ก่อน ซึ่งในแต่ละประเภทมีรายละเอียดที่ต้องศึกษาอีกมากมาย จะได้กล่าวโดยพิสดารต่อไป.


ที่มา : http://primaypaligrmmar.blogspot.com/2013/10/blog-post.html

พุทธศาสนสุภาษิต

พุทธศาสนสุภาษิต

สุภาษิต แปลว่า  ถ้อยคำที่กล่าวไว้ดี (สุ=ดี,  ภาษิต=กล่าว) สามารถนำมาเป็นคติ   ยึดถือเป็นหลักใจได้

พุทธศาสนสุภาษิต  หมายถึง ถ้อยคำดีๆ ในพระพุทธศาสนา  แต่มิได้หมายความเฉพาะคำที่พระพุทธองค์ตรัสไว้เท่านั้น แม้สุภาษิตแทบทั้งหมดจะเป็นพระพุทธพจน์ก็ตาม

เช่น ถ้าเป็นภาษิตพระสัมมาสัมพุทธตรัสเอง เรียกว่า พุทธภาษิต / พุทธสุภาษิต (หรือ พระพุทธพจน์)   ถ้าพระโพธิสัตว์ กล่าวเรียกว่า โพธิสัตว์ภาษิต    ถ้าพระสาวกกล่าว ก็เรียกว่า เถรภาษิต บ้าง สาวกภาษิต บ้าง     แม้แต่คำที่เทวดากล่าว และพระพุทธองค์ได้ตรัสรับรองว่าดีด้วยการตรัสคำนั้นซ้ำ  เรียกว่า เทวดาภาษิต เป็นต้น

วิธีการอ่านภาษาบาลี คลิกที่นี่

ดาวน์โหลดไฟล์พุทธสุภาษิตรวม 1,517 สุภาษิต คลิ๊กที่นี่ (จัดทำโดย kusol.com)

ดูข้อมูลอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับพระพุทธเจ้า คลิ๊กที่นี่

          พุทธศาสนสุภาษิต : พระราชา

ราชา รฏฺฐสฺส ปญฺญาณํ
พระราชาเป็นเครื่องปรากฏของแว่นแคว้น
ราชา มุขํ นุสฺสสานํ
พระราชาเป็นประมุขของประชาชน
สพฺพํ รฏฺฐํ สุขํ โหตุ ราชา เจ โหติ ธมฺมิโก
ถ้าพระราชาเป็นผู้ทรงธรรม ราษฎรทั้งปวงก็เป็นสุข
กุทฺธํ อปฺปฏิกุชฺฌนฺโต ราชา รฏฺฐสฺส ปูชิโต
พระราชาผู้ไม่กริ้วตอบผู้โกรธ ราษฎรก็บูชา
สนฺนทฺโธ ขตฺติโย ตปติ
พระมหากษัตริย์ทรงเครื่องรบย่อมสง่า
ขตฺติโย เสฏฺโฐ ชเนตสฺมิง เย โคตฺตปฏิสาริโน
พระมหากษัตริย์เป็นผู้ประเสริฐสุดในหมู่ชนผู้รังเกียจด้วยสกุล

           พุทธศาสนสุภาษิต : สิ่งที่เป็นการยาก

กิจฺโฉ มนุสฺสปฏิลาโภ
ความได้เป็นมนุษย์เป็นการยาก
กิจฺฉํ มจฺจาน ชีวิตํ
ความเป็นอยู่ของสัตว์เป็นการยาก
กิจฺฉํ สทฺธมฺมสฺสวนํ
การฟังธรรมของสัตบุรุษเป็นการยาก
กิจฺโฉ พุทฺธานมุปฺปาโท
ความเกิดขึ้นแห่งท่านผู้รู้เป็นการยาก
ทุลฺลภํ ทสฺสนํ โหติ สมฺพุทฺธานํ อภิณฺหโส
การเห็นพระพุทธเจ้าเนืองๆ เป็นการหาได้ยาก

           พุทธศาสนสุภาษิต : ทรัพย์และอนิจจัง 

น จาปิ วิตฺเตน ชรํ วิหนฺติ
กำจัดความแก่ด้วยทรัพย์ไม่ได้
น ทีฆมายุง ลภเต ธเนน
คนไม่ได้อายุยืนเพราะทรัพย์
สพฺเพ ว นิกฺขิปิสฺสนฺติ ภูตา โลเก สมุสฺสยํ
สัตว์ทั้งปวง จักทอดทิ้งร่างไว้ในโลก
อฑฺฒา เจว ทฬิทฺทา จ สพฺเพ มจฺจุปรายนา
ทั้งคนมีทั้งคนจน ล้วนมีความตายเป็นเบื้องหน้า
อปฺปกญฺจิทํ ชีวตมาหุธีรา
ปราชญ์กล่าวว่าชีวิตนี้น้อยนัก
น หิ โน สงฺครนฺเตน มหาเสเนน มจฺจุนา
ความผัดเพื่อนกับมฤตยู อันมีกองทัพใหญ่นั้น ไม่ได้เลย
ยงฺกิญฺจิ สมุทยธมฺมํ สพฺพนฺตํ นิโรธธมฺมํ
สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา
ภิยฺโย จ กาเม อภิปตฺถยนฺติ
ผู้บริโภคกาม ย่อมปรารถนากามยิ่งขึ้นไป
ชรูปนีตสฺส น สนฺติ ตาณา
เมื่อสัตว์ถูกชรานำเข้าไปแล้ว ไม่มีผู้ป้องกัน
น มิยฺยมานสฺส ภวนฺติ ตาณา
เมื่อสัตว์จะตาย ไม่มีผู้ป้องกัน
น มิยฺยามานํ ธมฺมนฺเวติ กิญฺจิ
ทรัพย์สักนิดก็ติดตามคนตายไปไม่ได้
สงฺขารา ปรมา ทุกฺขา
สังขารเป็นทุกข์อย่างยิ่ง
ขโณ โว มา อุปจฺจคา
ขณะอย่าล่วงท่านทั้งหลายไปเสีย
อติปตฺติ วโย ขโณ ตเถว
วัยย่อมผ้านพ้นไปเหมือนขณะทีเดียว
กาโล ฆสติ ภูตานิ สพฺพาเนว สหตฺตนา
กาลเวลาย่อมกินสรรพสัตว์กับทั้งตัวมันเอง

           พุทธศาสนสุภาษิต : ความโกรธ

โกธํ ฆตฺวา น โสจติ
ฆ่าความโกรธได้แล้วย่อมไม่เศร้าโศก
โกโธ สตฺถมลํ โลเก
ความโกรธเป็นดังสนิมศัสตราในโลก
โกธํ ฆตฺวา สุขํ เสติ
ฆ่าความโกรธได้แล้วย่อมอยู่เป็นสุข

           พุทธศาสนสุภาษิต : ความทุกข์

ทฬิทฺทิยํ ทุกฺขํ โลเก
ความจนเป็นทุกข์ในโลก
อิณาทานํ ทุกฺขํ โลเก
การกู้หนี้ เป็นทุกข์ในโลก
ทุราวาสา ฆรา ทุกฺขา
เหย้าเรือนที่ปกครองไม่ดี นำทุกข์มาให้
สงฺขารา ปรมา ทุกฺขา
สังขารเป็นทุกข์อย่างยิ่ง

           พุทธศาสนสุภาษิต : สหาย

อตฺถมฺหิ ชาตมฺหิ สุขา สหายา
เมื่อความต้องการเกิดขึ้น สหายเป็นผู้นำสุขมาให้
สเจ ลเภถ นิปกํ สหายํ จเรยฺย เตนตฺตมโน สติมา
ถ้าได้สหายผู้รอบคอบพึงพอใจมีสติเที่ยวไปกับเขา
ปาปมิตฺโต ปาปสโข ปาปอาจารโคจโร
มีมิตรเลว มีเพื่อนเลว ย่อมมีมรรยาทและมีที่เที่ยวเลว
นตฺถิ พาเล สหายตา
ความเป็นสหาย ไม่มีในคนพาล
ภริยา ปรมา สขา
ภริยาเป็นเพื่อนสนิท, ภรรยาเป็นสหายอย่างยิ่ง

            พุทธศาสนสุภาษิต : มลทิน

อสชฺฌายมลา มนฺตา
มนต์มีการไม่ท่องบ่น เป็นมลทิน
อนุฏฺฐานมลา ฆรา
เหย้าเรือนมีความไม่หมั่นเป็นมลทิน
มลํ วณฺณสฺส โกสชฺชํ
ความเกียจค้านเป็นมลทินแห่งผิวพรรณ
มลิตฺถิยา ทุจฺจริตํ
ความประพฤติชั่วเป็นมลทินของหญิง

           พุทธศาสนสุภาษิต : บริสุทธิ์

สุทฺธิ อสุทฺธิ ปจฺจตฺตํ
ความบริสุทธิ์และความไม่บริสุทธิ์มีเฉพาะตัว
นาญฺโญ อญฺญํ วิโสธเย
ผู้อื่นพึงทำให้ผู้อื่นบริสุทธิ์ไม่ได้
สุทฺธสฺส สุจิกมฺมสฺส สทา สมฺปชฺชเต วตํ
พรตของผู้บริสุทธิ์มีการงานสะอาด ย่อมถึงพร้อมทุกเมื่อ

           พุทธศาสนสุภาษิต : การชนะ

สพฺพรติง ธมฺมรติ ชินาติ
ความยินดีในธรรมย่อมชนะความยินดีทั้งปวง
ตณฺหกฺขโย สพฺพทุกฺขํ ชินาติ
ความสิ้นตัณหา ย่อมชนะทุกข์ทั้งปวง
น หิ ชิตํ สาธุ ชิตํ ยํ ชิตํ อวชิยฺยติ
ความชนะที่ไม่กลับแพ้เป็นดี
อสาธุง สาธุนา ชิเน
พึงชนะคนไม่ดี ด้วยความดีของตน
ชิเน กทริยํ ทาเนน
พึงชนะคนตระหนี่ ด้วยการให้
สจฺเจนาลิกวาทินํ
พึงชนะคนพูดปดด้วยคำจริง

            พุทธศาสนสุภาษิต : หว่านพืชเช่นใด ได้ผลเช่นนั้น

อคฺคสฺส ทาตา ลภเต ปุนคฺคํ
ผู้ให้สิ่งที่เลิศ ย่อมได้สิ่งที่เลิศอีก
มนาปทายี ลภเต มนาปํ
ผู้ให้สิ่งที่ชอบใจ ย่อมได้สิ่งที่ชอบใจ
เสฏฺฐนฺทโท เสฏฺฐมุเปติ ฐานํ
ผู้ให้สิ่งที่ประเสริฐ ย่อมถึงฐานะที่ประเสริฐ
ททโต ปุญฺญํ ปวฑฺฒติ
บุญของผู้ให้ย่อมเจริญ
ทเทยฺย ปุรโส ทานํ
คนควรให้ทาน
ปุญฺญมากงฺขมานานํ สงฺโฆ เว ยชตํ มุขํ
พระสงฆ์นั้นแล เป็นประมุขของเหล่าชนผู้จำนงบุญบูชาอยู่

            พุทธศาสนสุภาษิต : ผู้ครองเรือน

ทุราวาสา ฆรา ทุกฺขา
เหย้าเรือนที่ปกครองไม่ดี นำทุกข์มาให้ฯ
อนุฏฺฐานมลา ฆรา
เหย้าเรือนมีความไม่หมั่น เป็นมลทินฯ
โภคา สนฺนิจฺจยํ ยนฺติ วมฺมิโก วุปจียติ
โภคทรัพย์ของผู้ครองเรือนดี ย่อมถึงความพอกพูน เหมือนจอมปลวกกำลังก่อขึ้นฯ

            พุทธศาสนสุภาษิต : ภรรยา

ภตฺตา ปุญฺญาณมิตฺถิยา
ภัสดาเป็นสง่าของสตรีฯ
ภตฺตารํ นาติมญฺญติ
ภรรยาดี ไม่ดูหมิ่นภัสดา
ภตฺตุ ฉนฺทวสานุคา
ภรรยาย่อมคล้อยตามอำนาจแห่งความพอใจของภัสดา
ภตฺตุญฺจ ครุโน สพฺเพ ปฏิปูเชติ ปณฺฑิตา
ภรรยาผู้ฉลาดย่อมนับถือภัสดาและคนควรเคารพทั้งปวง
ภตฺตุมนา ปญฺจรติ
ภรรยาดีย่อมประพฤติเป็นที่พอใจของภัสดา
สมฺภตํ อนุรกฺขติ
ภรรยาดีย่อมคอยรักษาทรัพย์ที่ภัสดาหามาได้ไว้
สุสํวิหิตกมฺมนฺตา
ภรรยาดีเป็นผู้จัดทำการงานดี
สุสฺสูสา เสฏฺฐา ภริยานํ
บรรดาภิรยาทั้งหลาย ภริยาผู้เชื่อฟังเป็นผู้ประเสริฐ

             พุทธศาสนสุภาษิต : วาจา

หทยสฺส สทิสี วาจา
วาจาเช่นเดียวกับใจ
สํโวหาเรน โสเจยฺยํ เวทิตพฺพํ
ความเป็นผู้สะอาด พึงทราบได้ด้วยถ้อยคำสำนวน
ทุฏฺฐสฺส ผรุสวาจา
คนโกรธมีวาจาหยาบคาย
มุตฺวา ตปฺปติ ปาปิกํ
คนเปล่งวาจาชั่วย่อมทำตนให้เดือดร้อน
อภูตวาที นิรยํ อุเปติ
คนพูดไม่จริง ย่อมเข้าถึงนรก
สณฺหํ คิรํ อตฺถาวหํ ปมุญฺจ
ควรเปล่งวาจาให้ไพเราะที่มีประโยชน์
ตเมว วาจํ ภาเสยฺย ยายตฺตานํ น ตาปเย
ควรกล่าวแต่วาจาที่ไม่ยังตนให้เดือดร้อน
น หิ มุญฺเจยฺย ปาปิกํ
ไม่ควรเปล่งวาจาชั่วเลย
สํโวหาเรน โสเจยฺยํ กลฺยาณิง
ควรเปล่งวาจางาม ให้เป็นที่พอใจฯ
วาจํ มุญฺเจยฺย กลฺยาณิง
ควรเปล่งวาจางาม
โมกฺโข กลฺยาณิกา สาธุ
เปล่งวาจางาม ยังประโยชน์ให้สำเร็จ
มนุญฺญเมว ภาเสยฺย
ควรกล่าวแต่วาจาที่น่าพอใจ
นามนุญฺญํ กุทาจนํ
ในกาลไหนๆ ไม่ควรกล่าววาจาไม่น่าพอใจ
วาจํ ปมุญฺเจ กุสลํ นาติเวลํ
ไม่ควรกล่าววาจาที่ดี ให้เกินกาล

            พุทธศาสนสุภาษิต : ความกตัญญูและพรหมวิหาร

หิริโอตฺตปฺ ปิยญฺเญว โลกํ ปาเลติ สาธุกํ
หิริและโอตตับปปะ ย่อมรักษาโลกไว้เป็นอันดี
โลโกปตฺถมฺภิกา เมตฺตา
เมตตาเป็นเครื่องค้ำจุนโลก
อรติ โลกนาสิกา
ความริษยาเป็นเหตุทำโลกให้ฉิบหาย
มหาปุริสภาวสฺส ลกฺขณํ กรุณาสโห
อัชฌาศัยที่ทนไม่ได้เพราะกรุณาเป็นลักษณะของความเป็นมหาบุรุษ
นิมิตฺตํ สาธุรูปานํ กตญฺญูกตเวทิตา
ความกตัญญูกตเวทีเป็นเครื่องหมายแห่งคนดี
สพฺพญฺเจ ปฐวิง ทชฺชา เนว นํ อภิราธเย
ถึงแม้ให้แผ่นดินทั้งหมดก็ยังคนอกตัญญูให้จงรักไม่ได้

            พุทธศาสนสุภาษิต : คนชั่วกับลาภสักการะ

หนฺติ โภคา ทุมฺเมธํ
โภคทรัพย์ย่อมฆ่าคนมีปัญญาทราม
สกฺกาโร กาปุริสํ หนฺติ
สักการะ ย่อมฆ่าคนชั่วเสีย

            พุทธศาสนสุภาษิต : การงาน

อกิลาสุ วินฺเท หทยสฺส สนฺติง
คนไม่เกียจคร้าน พึงได้รับความสงบใจ
สุทสฺสํ วชฺชมญฺเญสํ อตฺตโน ปน ทุทฺทสํ
ความผิดของผู้อื่นเห็นง่าย ฝ่ายของตนเห็นยาก
อิติ วิสฺสฏฺฐกมฺมนฺเต อตฺถา อจฺเจนฺติ มาณเว
ประโยชน์ย่อมล่วงเลยคนหนุ่มผู้ทอดทิ้งการงาน
นกฺขตฺตํ ปฏิมาเนนฺตํ อตฺโถ พาลํ อุปจฺจคา
ประโยชน์ย่อมล่วงเลยคนโง่ผู้มัวถือฤกษ์อยู่

ที่มา : http://www.fungdham.com/proverb.html

วันพุธที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2559

ประมวลคำภาษาบาลีและสันสกฤตที่ไทยนำมาใช้

ประมวลคำภาษาบาลีและสันสกฤตที่ไทยนำมาใช้
ค้นหาศัพท์ในหน้านี้ ได้อย่างรวดเร็ว โดยการกด Ctrl+F แล้วพิมพ์อักษร/คำ ที่ต้องการค้นหา
(ดูเพิ่มเติม คำไทยที่มาจากภาษาอื่นๆ)
 คำไทย บาลี สันสกฤต อังกฤษ ความหมาย
กฐิน กฐิน กฐิน ผ้าที่ถวายพระที่จำพรรษาแล้ว
กฏุมพี กุฏุมฺพี กุฎุมฺพินฺ คนมั่งมี. (ไทย) คนเลว
กนิษฐา กนิฏฺฐ ขนิษฺฐ "ผู้น้อยที่สุด", น้อง; นิ้วก้อย
กบฏ กปฏ กปฏ ความทรยศ
กมล กมล กมล ดอกบัว; ใจ
กร, กรณ์ กร กรณ กรณ ทำ
กรณีย์ กรณีย กรณีย (กิจ) ควรทำ
กรรดึก (เก่า) กตฺติกา กฺฤตฺติกา เดือนสิบสอง, ดาวลูกไก่
กรรม กมฺม กรฺมนฺ การกระทำ
กรรมการ กมฺมกโร กรฺมการ ผู้ทำการงาน. (ไทย) ผู้ได้รับเลือกหรือแต่งตั้งเข้าเป็นคณะร่วมกันทำงานหรือกระทำกิจการบางอย่างซึ่งได้รับมอบหมาย, เมื่อรวมกันเป็นคณะ เรียกว่า คณะกรรมการ
กระษาปณ์ กหาปณ การฺษาปณ เหรียญ
กรินทร์ กรี+อินฺท กรี+อินฺทฺร ช้าง
กริยา กิริยา, กฺริยา กฺริยา ชนิดของคำที่แสดงการกระทำ อาการ
กรีฑา กีฬา กรีฑา เล่น. (ไทย) การแข่งขันประเภทลู่และประเภทลาน
กรุณา กรุณา กรุณา ความเห็นใจคิดช่วยให้พ้นทุกข์
กล กล กล การนับ, ส่วน. (ไทย) แบบ
กลึงค์ กลิงค์ กลิงฺค เรียกชาวอินเดียใต้พวกหนึ่งที่มีผิวดําว่า แขกกลิงค์ มาจากแคว้นกลิงคราษฎร์
กษัย ขย กฺษย ความเสื่อม สิ้น, โรคซูบผอม, กระษัย
กสิกรรม กสิ+กมฺม กฺฤษิ+กรฺม การทำนา, ทำไร่
กักขฬะ กกฺขล กกฺขฬ กฐร แข็ง, กระด้าง, หยาบ
กัจฉา กจฺฉา กกฺษ กกฺษฺยา รักแร้
กัญญา, กันยา กญฺญา กนฺยา กนฺยกา หญิงสาว
กัณฐ์ กณฺฐ กณฺฐ กรฺณ คอ
กัณฑ์ กณฺฑ กาณฺฑ ลูกธนู, ก้าน
กัณหา, กฤษณา กณฺห กฺฤษฺณ ดำ, ความชั่ว, บาป
กัมปนาท กมฺป+นาท กมฺป+นาท เสียงกึกก้อง
กัมพล กมฺพล กมฺพล ผ้าขนสัตว์
กัมพู กมฺพุ กมฺพุ หอยสังข์
กัลบก กปฺปก กลฺปก ช่างตัดผม
กากณึก กากณิกา กากิณิกา ชื่อมาตราเงินอย่างต่ำที่สุด
กากบาท (กา-กะ-บาด) กาก+ปาท กาก+ปาท ตีนกา, เครื่องหมายเป็นรูปตีนกา (กาก=กา, ปาท=เท้า)
กาชาด - - เครื่องหมายรูปกากบาท ( + ) สีแดงชาดบนพื้นขาว. กา (ขีด) +ชาด (สีแดง)
กาญจน์, กาญจนา กาญฺจน กาญฺจน ทอง, ทองคำ
กาญจนบุรี กาญฺจน+ปุรี กาญฺจน+ปุรี เมืองทอง
กานดา กนฺตา กานฺตา งาม, ผู้หญิง, หญิงงาม
กาพย์ กพฺพ กาพฺย กาวฺย คำประพันธ์
กาม กาม กาม รัก, ใคร่, อยาก, ต้องการ.
การ การ การ การกระทำ, ผู้ทำ, หน้าที่
การบูร กปฺปุร กฺรบูร ต้นชนิดหนึ่ง กลั่นน้ำมันกลิ่นฉุนร้อน ใช้ทํายา
การเวก กรวิก กรวีก กรวีก นกการเวก
การุญ, การุณย์ การุญฺญ การุณฺย ความกรุณา
การุณยฆาต การุญฺญฆาต การุณฺยฆาต การฆ่าด้วยความกรุณา
กาลี กาลี กาฬี กาลี กาฬี ดำ, หญิงคนชั่ว,  ปางหนึ่งของพระอุมาเทวี
กิจจะลักษณะ กิจฺจ+ลกฺขณ กิจฺจ+ลกฺษณ (ไทย) เป็นการเป็นงาน, เป็นเรื่องเป็นราว. (บาลี ไม่มีที่ใช้ - ลักษณะของกิจ)
กิริยา กิริยา กฺริยา กฺริยา การกระทำ, อาการที่แสดงออกมาด้วยกายมารยาท
กีฬา กีฬา กฺรีฑา การเล่น. (ไทย) การเล่นออกกำลังกาย
กุญแจ กุญฺจิกา กุญฺจิกา ลูกกุญแจ
กุญชร กุญฺชร กุญฺชร ช้าง
กุมภ กุมฺภ กุมฺภ หม้อ
กุมภีล์ กุมฺภีล กุมฺภีร จระเข้
กุมาร กุมาร กุมาร เด็กชาย
กุมารี กุมารี กุมารี เด็กหญิง
กุลสตรี กุล+อิตฺถี กุล+สฺตรี หญิงแห่งสกุล
เกศ, เกศา เกส เกศ ผม
เกษตร เขตฺต เกฺษตฺร นา, ไร่
เกษตราธิการ เขตฺต+อธิการ เกฺษตฺร+อธิการ กษัตริย์
เกษม เขม เกฺษม ปลอดภัย, สุขสบาย
เกษียณ ขีณ กฺษีณ สิ้นไป เช่น เกษียณอายุราชการ
เกษียน - - เขียน (เขียน แผลงเป็น เกษียน เลียนแบบสันสกฤต)
เกษียร ขีร กฺษีร น้ำนม เช่น เกษียรสมุทร (ทะเลน้ำนม)
เกียรติ กิตฺติ กีรฺติ คำสรรเสริญ, คำเล่าลือ
โกกนุท โกกนท โกกนท บัวแดง
โกญจา โกญฺจ โกญฺจา เกราญฺจ นกกระเรียน
โกมล โกมล โกมล อ่อน, ละเอียด, อ่อนนุ่ม
โกมุท โกมุท, โกมุทฺท บัวแดง, แสงจันทร์
โกสุม กุสุม กุสุม ดอกไม้
โกหก กุหก กุหก พูดเท็จ, พูดปด
ไกรลาส ไกลาศ ชื่อภูเขาในเทือกเขาหิมาลัย เชื่อว่าเป็นที่สถิตของพระอิศวรในศาสนาพราหมณ์. สีขาวเหมือนเงินยวง. (ไทย) เติม ร.
ขณะ ขณ กฺษณ ชั่วเวลาหนึ่ง
ขนิษฐา กนิฏฺฐ กนิษฺฐ น้อง
ขบถ กปฏ กปฏ ความทรยศ
ขมา ขมา กฺษมา อดทน, อดโทษ (ไม่เอาโทษ, ยกโทษ), ษมา, สมา
ขรรค์ ขคฺค ขฑฺค มีดปลายแหลมสองคม
ขัณฑสกร ขณฺฑสกรา น้ำตาลกรวด
ขัณฑสีมา ขณฺฑ+สีมา ขณฺฑ+สีมา เขตแดน
ขัตติยะ, กษัตริย์ ขตฺติย กฺษตฺริย พระเจ้าแผ่นดิน
ขันที ขณฺฑี ขณฺฑี (ไทย) ชายที่ถูกตอน (ถูกตัดอวัยวะเพศ); "ผู้(มีอวัยวะเพศ)ขาด?".
ขันธ์, สกนธ์ ขนฺธ สฺกนฺธ สฺกนฺท ร่างกาย
ขีดขินธ์ เสาหลักเมือง, เมืองขีดขินธ์ ชื่อเมืองของพาลีในเรื่องรามเกียรติ์, อีกชื่อว่า กิษกินธ์
เขต เขตฺต เกฺษตฺร เขตแดน, ขอบเขต, ไร่, นา
เขฬะ เขฬ เขฏ น้ำลาย
คงคา คงฺคา คงฺคา แม่น้ำคงคา (Ganges). (ไทย) แม่น้ำ.
คงคาลัย คงฺคา+อาลย คงฺคา+อาลย แม่น้ำคงคา
คดี คติ คติ ที่ไป. (ไทย) ข้อสอนใจ, เรื่อง, มักใช้ประกอบศัพท์อื่น เช่น วรรณคดี สารคดี; เรื่องฟ้องร้องกันทางกฎหมาย คดีอาญา คดีปกครอง.
คนโท กุณฺฑ กุณฺฑ หม้อ, กระถาง. (ไทย) ภาชนะใส่น้ำดื่ม
คนธรรพ์ คนฺธพฺพ คนฺธรฺว เทพจำพวกหนึ่ง
ครรภ์ คพฺภ ครฺภ ท้อง, ลูกในท้อง
ครู ครุ คุรุ guru ครู
คฤหัสถ์ คหฏฺฐ คฺฤหสฺถ ผู้ครองเรือน, ผู้ไม่ใช่นักบวช, ฆราวาส
คาถา คาถา คาถา คําประพันธ์ประเภทร้อยกรองในภาษาบาลี, อัตราของฉันท์ คือ 4 บาท เรียกว่า คาถาหนึ่ง. (ไทย) คาถาอาคม, คําเสกที่ถือว่าศักดิ์สิทธิ์.
คาม คาม คฺราม บ้าน, หมู่บ้าน
คาวี คาวี cow แม่วัว
คำนวณ คุณ คุณ กะประมาณ, คิดหาผลลัพธ์โดยวิธีเลข.
คีต คีต คีต เพลงขับ, การขับร้อง
คีรี คิริ คิริ ภูเขา
คุณ คุณ คุณ ความดี, ชั้น; สายธนู. (ไทย) ความดี, คำนำหน้าชื่อ, อาถรรพ์, ชั้น (คูณ).
คูณ คุณ คุณ ชั้น. (ไทย) เพิ่มจํานวนเท่าตัวตามหน่วยที่ต้องการ.
คูหา คุหา คุหา ถ้ำ
เคราะห์ คห คฺรห การจับ ยึด บังคับ. (ไทย) สิ่งที่นำผลให้โดยมิได้คาดหมาย
เคารพ คารว เคารว ความเคารพ
โค โค โค วัว
โคดม โคตม โคตม พระโคตรของพระพุทธเจ้า (พระองค์ปัจจุบัน ซึ่งเป็นพระองค์ที่ 4 ใน 5 พระองค์ ในภัทรกัปนี้), พระอาทิตย์
โคตร (โคด) โคตฺต โคตฺร วงศ์, สกุล, เผ่าพันธุ์, เชื้อสาย เช่น โคตมโคตร
โคตรภู (โคด-ตฺระ-พู) โคตฺรภู โคตฺรภู บุคคลผู้ตั้งอยู่ในญาณซึ่งเป็นลําดับอริยมรรค คือกำลังก้าวล่วงพ้นความเป็นปุถุชน เข้าสู่ความเป็นอริยะ = โคตรภูบุคคล; ภิกษุสงฆ์ที่ไม่เคร่งครัดในศาสนา มีวัตรปฎิบัติห่างจากธรรมวินัย แต่ยังมีเครื่องแสดงเพศภาวะอยู่ เช่น ผ้าเหลืองพันคอ (กาสาวกณฺฐา) เป็นต้น ถือตนว่ายังเป็นภิกษุสงฆ์อยู่ เรียกว่า โคตรภูสงฆ์/โคตรภูภิกษุ, สงฆ์ในระยะหัวต่อจะสิ้นศาสนา
ฆราวาส ฆราวาส คฺฤห+อาวาส การอยู่ครองเรือน, ผู้อยู่ครองเรือน, คนทั่วๆ ไปที่ไม่ใช่บรรพชิตหรือนักบวช
ฆาน ฆาน ฆฺราณ จมูก
โฆษ โฆส โฆษ เสียงดัง, เสียงกึกก้อง
โฆษณา โฆสนา โฆษณา โห่ร้อง, ป่าวร้อง, กึกก้อง. (ไทย) เผยแพร่ข้อความแก่สาธารณชน
จงกรม จงฺกม จงฺกฺรม เดินกลับไปกลับมา
จตุ-, จตุร- จตุ จตุร สี่
จตุรงค์ จตุร+องฺค จตุร+องฺค มีองค์ 4
จริต จริต จริต ความประพฤติ. (ไทย) บางทีใช้ในทางไม่ดี เช่น ดัดจริต มีจริต
จริยา จริย จรฺย ความประพฤติ
จักร จกฺก จกฺร วงกลมมีเฟืองรอบ, ล้อ
จักรี จกฺกี จกฺรินฺ ผู้มีจักร หมายถึงพระนารายณ์. (ไทย) พระราชา ตามที่เชื่อกันว่าเป็นพระนารายณ์อวตารลงมา.
จักรพรรดิ (จัก-กะ-พัด) จกฺกวตฺติ จกฺรวรฺตินฺ (พระราชา) ผู้ยังจักรให้เป็นไป, พระราชาจักรพรรดิ ผู้มีรัตนะ 7, จักรพรรดิราช. (ไทย) ประมุขของจักรวรรดิ = emperor.
จักรวรรดิ (จัก-กะ-หฺวัด) จกฺกวตฺติ จกฺรวรฺตินฺ (ไทย) รัฐหรือสหภาพของรัฐต่างๆ ที่มีจักรพรรดิเป็นประมุข เช่น จักรวรรดิโรมัน, อาณาเขตหรืออาณาจักรที่อยู่ภายใต้อํานาจอธิปไตย การปกครองอันเดียวกัน เช่น จักรวรรดิอังกฤษ = empire.
จักษุ จกฺขุ จกฺษุ ตา
จัตวา จตุ จตุ (ไทย) [จตุ เอา อุ เป็น วฺ เป็น จตฺวา] สี่; เดิมใช้เรียกข้าราชการที่มีลำดับชั้นต่ำกว่าชั้นตรี ว่า ชั้นจัตวา; เครื่องหมายวรรณยุกต์รูป "+"
จัณฑ์ จณฺฑ จณฺฑ ดุร้าย. (ไทย) น้ำจัณฑ์ = เหล้า "กินแล้วดุ".
จัณฑาล จณฺฑาล จณฺฑาล ตํ่าช้า; ลูกที่เกิดจากคนต่างวรรณะกัน เช่น ลูกที่บิดาเป็นศูทร มารดาเป็นพราหมณ์
จันทน์ จนฺทน จนฺทน ต้นจันทน์, ผลจันทน์
จันทร์ จนฺท จนฺทฺร ดวงจันทร์, ดวงเดือน; ชื่อวันที่ 2 ของสัปดาห์
จาบัล จปล จปล การหวั่นไหว
จาม จมฺม จรฺมนฺ หนังสัตว์
จาริก จาริก จาริก เดินไป, เที่ยวไป
จิต, จินตนา, เจตนา จิต, จินฺต จิต, จินฺต คิด
จุณ จุณฺณ จูรฺณ ละเอียด
จุมพิต จุมฺพ จุมฺพ จูบ
จุล จุลฺล, จูล, จูฬ กฺษุลฺล น้อย
จุฬา, จุฑา จูฬา จูฑา จุกบนหัว
เจดีย์ เจติย ไจตฺย สิ่งซึ่งก่อเป็นรูปคล้ายลอมฟาง มียอดแหลม บรรจุสิ่งที่นับถือมีพระธาตุเป็นต้น, สิ่งหรือบุคคลที่เคารพนับถือ
เจษฎา เชฏฺฐ เชฺยษฺฐ "ผู้ใหญ่ที่สุด", พี่
เจรจา (เจน-ระ-) จรฺจา พูด, พูดจากัน, พูดจากันเป็นทางการ, จำนรรจา
เจียร จิร จิร ช้านาน, ยืนนาน
แจตร์ ไจตฺร เดือนห้า
โจร โจร โจร, เจาร โจร
โจรี โจรี โจรี โจรผู้หญิง
ฉลาก สลากา ศลากา สลาก
ฉันทะ ฉนฺท ฉนฺทสฺ ความพอใจ
ฉันทาคติ ฉนฺท+อคติ ฉนฺทสฺ+อคติ ความลำเอียงเพราะรักชอบ พอใจ
ฉันทามติ ฉนฺท+มติ ฉนฺทสฺ+มติ (ไทย บัญญัติ) คำนี้ไม่มีในพจนานุกรม, และหากจะใช้ ควรเขียนว่า ฉันทมติ แปลตามศัพท์ว่า ความเห็น(ที่เกิดจาก)ความพอใจ(ร่วมกัน), ความเห็นร่วมกันด้วยความพอใจ.  เข้าใจว่าบัญญัติขึ้นให้ตรงกับคำว่า consensus ที่หมายถึง ความคิดเห็นของส่วนใหญ่ (ที่สอดคล้องกันลงรอยกัน), มติมหาชน. = ฉันทานุมัติ (ฉันท+อนุ+มติ)
ฉายา ฉายา ฉายา เงา(มืด), ร่ม, เงา(สะท้อน เช่น เงาในกระจก ในน้ำ); รูปเปรียบ(กับตัวจริง), ชื่อ, ชื่อที่พระอุปัชฌาย์ตั้งให้เป็นภาษาบาลีเมื่ออุปสมบท. (ไทย) ชื่อที่ตั้งให้กันอย่างไม่เป็นทางการ ตามลักษณะที่ปรากฏ.
ฉิมพลี สิมฺพลี, สิมฺพโล ศาลฺมลี ไม้งิ้ว
ชงฆ์ ชงฺฆา ชงฺฆา แข้ง
ชฎา ชฏา ชฎา เครื่องสวมศีรษะรูปคล้ายมงกุฎ, ผมที่เกล้าเป็นมวย
ชน ชน ชน เกิด
ชนก ชนก ชนก พ่อ
ชนบท ชนปท ชนปท ประเทศ, จังหวัด, บ้านนอก, พลเมือง (ชาวชนบท). (ไทย) บ้านนอก, เขตแดนที่พ้นจากเมืองหลวง ออกไป.
ชมพู่ ชมฺพุ ชมฺพุ หว้า, ชมพู่
ชมพูนุท ชมฺพุนท ชามฺพุนท ทองคำเนื้อบริสุทธิ์
ชลี อญฺชลิ อญฺชุลิ   อญฺชลิ       กระพุ่มมือไหว้. (ไทย) อัญชลี ตัด อัญ, เป็น ชุลี บ้าง.
ชวาล, ชาล ชาล ชาล ข่าย
ชันษา (ชัน-นะ-) ชนวสฺส ชนฺมวรฺษ ชนมพรรษา  [ชน-มะ-พัน-สา] อายุ. ขวบปีที่เกิดมา. (ไทย) ลบ ม
ชัย ชย ชย ชนะ
ชาคริต ชาคริต ชาคริตวตฺ ผู้ตื่น
ชาตา ชาต ชาต เกิด. (ไทย) เวลาเกิดของคน เป็นต้น ที่โหรคำนวณไว้, ชะตา ก็ว่า.
ชาติ ชาติ ชาติ การเกิด. (ไทย) การเกิด; ชนิด, จําพวก; ประเทศ; ประชาชนที่เป็นพลเมืองของประเทศ,
ชานุ ชานุ ชานุ เข่า
ชิวหา ชิวฺหา ชิวฺหา ลิ้น
ชี ชี นักบวช เช่น ชีปะขาว (กร่อนมาจาก ชีผ้าขาว); คําเรียกหญิงที่นุ่งขาวห่มขาว โกนคิ้วโกนผม ถือศีล, แม่ชี ก็เรียก. สันสกฤต ใช้พูดต้นนาม เป็นเครื่องหมาย
แห่งความยกย่อง.
ชีวประวัติ ชีว+ปวตฺติ ชีว+ปฺรวรฺตน? ประวัติของชีวิต
เชษฐา เชฏฺฐ เชฺยษฺฐ "ผู้ใหญ่ที่สุด", พี่
เชตุพน เชตุ+วน เชตุ+วน สวนเจ้าเชต, (ไทย) วัดพระเชตุพน
โชดึก โชติก โชฺยติก ผู้มีความรุ่งเรือง
โชติ โชติ โทฺยติสฺ โชฺยติสฺ ความรุ่งเรือง, ความสว่าง
ไชย เชยฺย เชฺยย ชฺยายสฺ ดีกว่า, เจริญกว่า
ฌาน ฌาน ธฺยาน การเพ่ง, พิจารณา, ภาวะที่จิตสงบแน่วแน่
ญาติกา ญาติกา ชฺญาติกา ญาติผู้หญิง
ญาติธรรม ญาติ+ธมฺม ชฺญาต+ธรฺม ญาติธรรม (ยา-ติ-ทำ) ธรรมของญาติ(ที่พึงปฏิบัติต่อกัน) แปลจากหลังไปหน้า.  (ไทย) ญาติธรรม (ยาด-ทำ) บุคคลที่ถือเป็นญาติทางธรรม. แปลจากหน้าไปหลัง  (ไม่ควรอ่านว่า ยาด-ติ-ทำ เพราะจะกลายเป็นศัพท์สมาส  ยกเว้น ญาติพี่น้อง (ยาด-ติ-พี่น้อง เพราะเป็นภาษาปาก)
ฎีกา ฏีกา คําอธิบายขยายความ, คัมภีร์อธิบายอรรถกถา. (ไทย) หนังสือที่เขียนนิมนต์พระสงฆ์ ฯลฯ
ฐาน ฐาน สฺถาน ที่ตั้ง, ที่รองรับ
ฐาปนิก ฐาปนิก สฺถาปนิก ผู้ก่อสร้าง, ผู้ออกแบบก่อสร้าง
ฐิติ ฐิติ สฺถิติ การยืน, การตั้งมั่น
ณัฏฐ์ ณฏฺฐ (ญาณ+ฐ) ผู้ตั้งอยู่ในความรู้, นักปราชญ์
ดนตรี ตนฺติ ตนฺตฺรินฺ แบบแผน, ระเบียบ, สาย, เส้นด้าย, แผ่ไป, สายพิณ, พุทธวจนะ, แถว, บาลี. (ไทย) ลำดับเสียงอันไพเราะ.
ดนู ตนุ ตนุ น้อย
ดรรชนี, ดัชนี ตชฺชนี ตรฺชนี นิ้วชี้, บัญชีคําเรียงตามลําดับอักษรที่พิมพ์ไว้ส่วนท้ายของหนังสือ (index)
ดรุณ ตรุณ ตรุณ หนุ่ม
ดรุณี ตรุณี ตรุณี สาว, อ่อน, รุ่น
ดัสกร ตกฺกร ตสฺกร โจร, ขโมย. (ไทย) ข้าศึก, ศัตรู.
ดาบส ตาปส ตาปส นักบวช
ดารา ตารา สฺตาร star ดาว
ดาวดึงส์ ตาวตึส ตฺรยสฺตฺรึศตฺ ชื่อสวรรค์ชั้นที่สอง
ดิถี ติถิ ติถิ การนับวันตามจันทรคติ
ดิเรก อติเรก อติเรก เกินหนึ่ง (ใหญ่ยิ่ง, มาก, พิเศษ). (ไทย) อดิเรก ตัด อ.
ดีบุก ติปุ ตฺรปุ ดีบุก (tin)
ตุ๊ สาธุ สาธุ (ไทย) คำสำหรับเรียกพระภิกษุ ทางภาคเหนือ กร่อนมาจาก สาธุ
ดุรงค์ ตุรงฺค ตุรงฺค ม้า "ไปเร็ว"
ดุลย์ ตุลย ตุลฺย คล้าย, เช่นกัน
ดุษฎี ตุฏฺฐิ ตุษฺฏิ ความยินดี, ความชื่นชม. (ไทย) ดุษฎีบัณฑิต ปริญญาเอก, ผู้ได้รับปริญญาเอก
ดุษณี ตุณฺหี ตุษฺณีมฺ อาการนิ่งซึ่งแสดงถึงการยอมรับ. (ไทย) โดยดุษณีภาพ
ดุสิต ตุสิต ตุษิต สวรรค์ชั้นดุสิต
เดช เดโช เตช เตช อำนาจ, ไฟ, ความร้อน
เดรัจฉาน ติรจฺฉาน ติรศฺจีน "ผู้เป็นไปโดยขวาง", สัตว์เว้นจากมนุษย์ เช่นหมู หมา วัว ควาย. เดียรัจฉาน
ตติยะ ตติย ตฺฤตีย ที่สาม
ตถาคต ตถาคต ตถาคต ผู้ไปแล้วอย่างนั้น (พระพุทธเจ้า)
ตน ตนุ ตนุ เบาบาง, น้อย, ห่าง; ละเอียด; ตน. (ไทย) ตน.
ตบะ ตป ตปสฺ ความร้อน, ธรรมเครื่องเผาบาป
ตมะ ตม ตมสฺ มืด
ตรรก ตกฺก ตกฺร คิด, ตรึก
ตระกูล กุล กุล วงศ์, เชื้อสาย. (ไทย) เติม ตระ-
ตรัยตรึงศ์ เตตฺตึส ตฺรยสฺตฺรึศตฺ สามสิบสาม
ตรี ติ ตฺริ สาม
ตรีภูมิ ติ+ภูมิ ตฺริ+ภูมิ ภูมิสาม
ตรีโลก ติ+โลก ตฺริ+โลก โลกสาม
ตฤณ, ติณ ติณ ตฤณ หญ้า
ตักษัย ชีวิตกฺขย ชีวิตกฺษย สิ้นชีวิต, ตาย. (ไทย) ตัดพยางค์ ชีวิ ออก.
ตัณหา ตณฺหา ตฺฤษฺณา ความยาก
ตาล ตาล ตาล ลูกตาล, ลูกกุญแจ
ตาว ตาว ตาวตฺ เพียงนั้น
ตุลา ตุลา ตุลา คันชั่ง
เตโช เตช เตช อำนาจ, ไฟ, ความร้อน
ไตร ติ, เต ตฺริ three, tri(cycle) สาม
ไตรยางศ์ ติ+อํส ตฺริ+อํส, ตฺรยํศ ประกอบ 3 อย่าง, มี 3 ส่วน
ถัน ถน สฺตน นม (อวัยวะ), เต้านม
ถาวร, สถาพร ถาวร สฺถาวร (stand) มั่นคง, แข็งแรง
เถน เถน เสฺตน steal ลัก, ขโมย; สมัยก่อน คนไทยใช้เป็นคำอุทาน/ด่า เช่น ไอ้เถน!.
เถระ, เถรี เถร, เถรี สฺถวิร, สฺถวิรา คนแก่, ผู้เฒ่า, ผู้มั่นคง, พระที่มีพรรษา 10 ขึ้นไป
ทรกรรม ทุร+กมฺม ทุสฺ+กรฺม การทำให้ลำบาก
ทรพิษ ทุร+วิส ทุสฺ+วิษ "พิษชั่ว", ชื่อโรคระบาด มักขึ้นตามตัว เป็นเม็ดเล็กๆ ดาษทั่วไป เรียกว่า ไข้ทรพิษ, ฝีดาษ ก็ว่า.
ทรยุค ทุร+ยุค ทุสฺ+ยุค ยุคชั่ว
ทรลักษณ์ ทุร+ลกฺขณ ทุสฺ+ลกฺษณ ลักษณะชั่ว, เครื่องหมายชั่ว
ทรหน ทุร+ ทุสฺ+ ทางลำบาก, ทางกันดาร
ทรัพย์ ทพฺพ ทฺรวฺย ของมีค่า
ทฤษฎี ทิฏฺฐิ ทฺฤษฺฏิ ความเห็น. (ไทย) หลักที่นักปราชญ์วางไว้.
ทวาร ทฺวาร ทฺวาร door ประตู (ท ในภาษาบาลี ออกเสียงเหมือน d)
ทวีป ทีป ทฺวีป เกาะ
ทหาร ทหร ทหร คนหนุ่ม. (ไทย) ผู้มีหน้าที่ในเรื่องรบ
ทักษิณ ทกฺขิณ ทกฺษิณ ทิศใต้, ขวา.
ทั้งเพ สพฺพ สรฺว ทั้งปวง, ทั้งหมด. (ทั้ง + สัพเพ).
ทัณฑ์ ทณฺฑ ทณฺฑ ไม้ตะบอง, ไม้เท้า; การลงอาญา, การลงโทษ. (ไทย) การลงอาญา, การลงโทษ..
ทัณฑฆาต ทณฺฑ+ฆาต ทณฺฑ+ฆาต ชื่อเครื่องหมาย
ทนต์ ทนฺต ทนฺต dental ฟัน (ท ในภาษาบาลี ออกเสียงเหมือน d)
ทวิ- ทฺวิ, ทิ, ทุ, โท ทฺวิ two, twice สอง
ทศ ทส ทศ ten; decimal สิบ
ทัศนะ, ทรรศนะ ทสฺสน ทรฺศน ความคิดเห็น
ทัศนีย์ ทสฺสนีย ทรฺศนีย, ทฺฤศฺ ควรดู, น่าดู
ทาน ทาน ทาน การให้
ทายก ทายก ทายก ผู้ให้
ทารก ทารก ทารก เด็กผู้ชาย
ทาริกา ทาริกา ทาริกา เด็กหญิง
ทิฐิ ทิฏฺฐิ ทฺฤษฺฏิ theory ความเห็น. (ไทย) ความดื้อรั้นในความเห็น; ความถือดี =มานะ.
ทิพย์ ทิพฺพ ทิพฺย เป็นทิพย์
ทิพโลก ทิพฺพโลก ทิพฺยโลก โลกสวรรค์
ทิพากร ทิวากร ทิวากร ผู้กระทำหน้าที่กลางวัน, ทำ "วัน", พระอาทิตย์
ทิวงคต ทิวงฺคต ทิวมฺคต ไปสู่สวรรค์ (ตาย)
ทิวากร ทิวา+กร ทิวา+กร ผู้กระทำหน้าที่กลางวัน, ทำ "วัน", พระอาทิตย์
ทิวากาล ทิวากาล ทิวา+กาล (เวลา) กลางวัน
ทิวาราตรี ทิวารตฺติ ทิวาราตฺรมฺ กลางวันและกลางคืน
ทีป ทีป ทีป แสงไฟ
ทีปังกร ทีปงฺกร ทฺวีป+กร ผู้ที่ทำที่พึ่ง, พระนามของพระพุทธเจ้า
ทุคติ ทุคฺคติ ทุสฺ+คติ ที่ไปชั่ว, ที่ไปไม่ดี (เปรต นรก อสุรกาย เดรัจฉาน)
ทุจริต ทุจฺจริต ทุสฺ+จริต ประพฤติชั่ว
ทุติยะ ทุติย ทฺวิตีย ที่สอง
ทุนนิมิต ทุนฺนิมิตฺต ทุสฺ+นิมิตฺต ฝันชั่ว
ทุพพล ทุพฺพล ทุสฺ+พล มีกำลังน้อย
ทุพภิกขภัย ทุพฺภิกฺขภย ทุสฺ+ภิกฺษา+ภย ภัยจากอาหารหายาก
ทุรชน ทุรชน ทุสฺ+ชน คนชั่ว
ทุรชล ทุรชล ทุสฺ+ชล น้ำร้าย
ทุรชาติ ทุรชาติ ทุสฺ+ชาติ ชาติชั่ว
ทุรนิมิต ทุนฺนิมิตฺต ทุสฺ+นิมิตฺต ลางร้าย
ทุรมาน, ทรมาน ทุรมาน ทุสฺ+มาน ไม่มีการถือตัว
ทุรยศ, ทรยศ ทุรยส ทุสฺ+ยศสฺ เกียรติชั่ว (กบฏ)
ทุรราช, ทรราช ทุรราช ทุสฺ+ราชนฺ พระราชาชั่ว, ผู้ปกครองชั่ว
ทุรวาท ทุรวาท ทุสฺ+วาท คำชั่ว
เทพินทร์ เทวี+อินฺท เทวี+อินฺทฺร จอมเทพี
เทวโลก เทวโลก เทวโลก สวรรค์
เทวษ โทส เทฺวษ เศร้าโศกเสียใจ
เทวะ เทว เทว divine ฝน; เทพ, เทวดา; ราชา (สมมติเทพ). ท ในภาษาบาลี ออกเสียงเหมือน d
เทวินทร์ เทว+อินฺท เทว+อินฺทฺร จอมเทพ
เทวี เทวี เทวี พระเจ้าแผ่นดินผู้หญิง
เท่ห์ เทห เทห ร่างกาย
เทาะห์ ฑห ทห เผา
แทตย์ ไทตฺย ยักษ์
โท [ทฺวิ ทิ ทุ] [ทฺวิ] two สอง. (ฮินดี) โท.
โทรศัพท์ ทูร+สทฺท ทูร+ศพฺท tele- โทรศัพท์.  ทูร-tele (ไกล) + สทฺท (เสียง)
โทษ โทส โทษ ความไม่ดี, ความผิด
โทสะ โทส โทษ ความโกรธ
ไทย เทยฺย เทย ควรให้
ไทยธรรม เทยฺยธมฺม เทยธรฺม "ของที่ควรให้", ของทําบุญต่างๆ, ของถวายพระ.
ไทยทาน เทยฺยทาน เทยทาน ของอันพึงให้
ธช ธวัช ธช ธฺวชฺ ธง
ธนาณัติ ธน+อาณตฺติ ธน+อาชฺญาปฺติ เงินที่ส่งตามสั่ง
ธนิต ธนิต ธฺวนิต แข็ง, หนัก
ธรณี เทหนี ธรณีประตู
ธรรมยุต ธมฺม+ยุตฺต ธรฺม+ยุกฺต ประกอบด้วยธรรม
ธรรมศาสตร์ ธมฺม+สตฺถ ธรฺม+ศสฺตฺร คัมภีร์หลักกฎหมาย
ธรรมิก ธมฺมิก ธารฺมิก ผู้ตั้งอยู่ในธรรม, ผู้ประพฤติธรรม
ธัญญะ ธญฺญ ธนฺย ข้าวเปลือก
ธันวาคม ธนฺว(ธนุ)+อาคม ธนุสฺ+อาคม ชื่อเดือนที่ 12 ตามสุริยคติ; เดือนที่อาทิตย์มาสู่ราศีธนู
ธุดงค์ ธุต+องฺค ธุต+องฺค องค์คุณเครื่อง[ช่วย]กําจัดกิเลส, ชื่อวัตรปฏิบัติอย่างเคร่งครัดของภิกษุ มี 13 อย่าง เช่น การอยู่ป่า การอยู่โคนไม้. มักเข้าใจคลาดเคลื่อนไปว่า การที่ภิกษุจาริกเที่ยวไป (แม้จะเป็นในป่าเขาก็ตาม) คือการปฏิบัติธุดงค์แล้ว, ธุดงค์ไม่ใช่ศีล ภิกษุใดรักษาธุดงค์ข้อใดหรือหลายข้อแล้วกิเลสเบาบางลง คุณธรรมเจริญขึ้น ควรรักษา หากเป็นตรงกันข้าม ก็(ยัง)ไม่ควรรักษา.
ธุรการ ธุร+การ ธุร+การ (ไทย บัญญัติ) การจัดกิจการงานโดยส่วนรวมของแต่ละหน่วย ซึ่งมิใช่งานวิชาการ
ธุระ, ธุร ธุร ธุร แอก; หน้าที่, กิจการ
เธียร ธีร ธีร นักปราชญ์
  น โน no ไม่
นพ นว นวนฺ nine; new, novate เก้า; ใหม่
นพเคราะห์ นวคห นวคฺรห (โหร) ดาวพระเคราะห์ทั้ง 9 คือ อาทิตย์ จันทร์ อังคาร พุธ เสาร์ พฤหัสบดี ราหู ศุกร์ เกตุ.
นโยบาย นย+อุปาย นย+อุปาย "วิธีเป็นเครื่องนำไป", หลักและวิธีปฏิบัติซึ่งถือเป็นแนวดําเนินการเพื่อนำไป[สู่เป้าหมาย].
นรินทร์ นร+อินฺท นร+อินฺทฺร จอมคน, ผู้เป็นใหญ่กว่าชน (พระเจ้าแผ่นดิน)
นริศวร, นเรศวร นร+อิสฺสร นร+อีศฺวร พระราชา, ผู้เป็นใหญ่กว่าชน (พระเจ้าแผ่นดิน)
นฤดม นร+อุตฺตม นร+อุตฺตม คนผู้สูงสุด
นฤบดี นร+ปติ นร+ปติ เจ้าแห่งคน (พระราชา)
นฤมล นิร+มล ไม่มีมลทิน
นักษัตร, นักขัต นกฺขตฺต นกฺษตฺร ดาว
นังคัล นงฺคล ลางฺคล ไถ
นัย นย นย ผู้นำไป
นาฏ นาฏ นาฏ การฟ้อนรำ, นางงาม, สิ่งที่ให้ความบันเทิงใจ
นาที นาฬิ นาฑี ก้าน (เข็มนาที?). (ไทย) ชื่อหน่วยเวลา.
นานา นานา นานา ต่างๆ
นานาประการ, นานัปการ นานปฺปการ นานา+ปฺรการ มีประการต่างๆ
นาม นาม นามนฺ name ชื่อ
นายก นายก นายก ผู้นำ
นาวา นาวา เนา, นาว navy เรือ
นาวิก นาวิก นาวิก ผู้ขี่เรือ, คนขับเรือ, เกี่ยวกับเรือ
นาสา นาสา นาสา nose, nasal จมูก
นิกร นิกร นิกร หมู่, พวก, ประชุม, ฝูง
นิคหะ นิคฺคห นิคฺรห การข่ม, การปราบปราม
นิคหิต นิคฺคหิต นิคฺฤหีต เครื่องหมายวงกลม ( ํ) เขียนไว้เหนือพยัญชนะไทย
นิคาหก นิคฺคาหก นิคฺราห+ก ผู้ข่มขี่. (ไทย) ?? ผู้มีวาจาหยาบ (ขอทาน)
นิตย์ นิจฺจ นิตฺย นิจ, เที่ยง, เนืองๆ, ทุกเมื่อ, สมํ่าเสมอ.
นิติ นิติ เครื่องนำไป, แบบแผน
นิทรา นิทฺทา นิทฺรา การหลับ. (ไทย) หลับ
นิทาน นิทาน นิทาน ที่มา (ของเรื่อง), เหตุ. (ไทย) เรื่องเล่าที่สมมุติขึ้น
นิธาน นิธาน นิธาน การฝังไว้, เก็บไว้
นิธิ นิธิ นิธิ ขุมทรัพย์
นินทา นินฺทา นินฺทา ติเตียน. (ไทย) ติเตียนลับหลัง.
นินนาท นินฺนาท นินาท เสียงกึกก้อง
นิบาต นิปาต นิปาต ตกลง (ชื่อคัมภีร์และคำในไวยากรณ์)
นิพพาน นิพฺพาน นิรฺวาณ ดับสิ้นเชื้อ
นิพัทธ์ นิพทฺธ นิพทฺธ เนื่องกัน, เนืองๆ, เสมอ
นิภา นิภา นิภา สว่างออก (รัศมี)
นิมนต์ นิมนฺต นิมนฺตฺรณ เชื้อเชิญ. (ไทย) เชิญพระภิกษุ
นิมมาน นิมฺมาน นิรฺมาณ สร้าง, ทำ
นิมิต นิมฺมิต นิรฺมิต สร้าง, ทำ
นิมิต นิมิตฺต นิมิตฺต เครื่องหมาย, ลาง, เหตุ, เค้ามูล; อวัยวะสืบพันธุ์.
นิยม นิยม นิยม แน่นอน, กำหนด. (ไทย) ยอมรับกันอย่างแพร่หลาย
นิยาม นิยาม นิยาม กําหนด, ทาง, อย่าง, วิธี.
นิรคุณ นิรคุณ นิรฺคุณ ไม่มีลักษณะดี
นิรโฆษ นิรโฆส นิรฺโฆษ เสียงก้องออก; ไม่มีเสียง
นิรทุกข์ นิรทุกฺข นิรฺทุกฺข ไม่มีความทุกข์
นิรเทศ นิรเทส นิรฺเทส ไม่มีถิ่นที่
นิรนาม นิรนาม นิรนามนฺ ไม่มีชื่อ
นิรภัย นิพฺภย นิรฺภย ไม่มีภัย
นิรมล นิมฺมล นิรฺมล ไม่มีมลทิน, ไม่หมองมัว
นิรมิต นิมฺมิต นิรฺมิต สร้าง, ทำ, เนรมิต. (ไทย) บันดาลให้เกิดขึ้น.
นิรวาณ นิพฺพาน นิรฺวาณ ความดับไม่มีเหลือ
นิรันดร, นิรันตร นิรนฺตร นิรนฺตร ไม่มีระหว่างคั่น
นิรานุช นิร+อนุช นิรฺ+อนุช ไปจากนุช, ปราศจากนุช
นิราพาธ นิร+อาพาธ นิรฺ+อาพาธ ไม่มีความเจ็บป่วย
นิรามิษ นิร+อามิส นิรฺ+อามิษ ไม่มีเครื่องล่อ, ไม่มีเหยื่อ
นิราลัย นิร+อาลย นิสฺ+อาลย ไม่มีที่อยู่, ไม่มีที่ห่วงใย
นิราศ นิร+อาสา นิสฺ+อาศา ไม่ความหวัง, ไม่มีความต้องการ, ไปจาก
นิรุทก นิร+อุทก นิสฺ+อุทก ไม่มีน้ำ
นิล นีล นีล สีเขียวแก่, สีขาบ (สีนํ้าเงินแก่อมม่วง), สีน้ำเงิน. (ไทย) พลอยชนิดหนึ่งมีสีดำ, เขียว
นิวัติ นิวตฺติ นิวฺฤตฺติ เป็นไปกลับ (การกลับ)
นิเวศน์ นิเวสน นิเวศน การเข้าอยู่, ที่อยู่
นิศากร, นิสากร นิสา+กร นิศา+กร ดวงจันทร์ "ผู้ทำซึ่งกลางคืน"
นิสิต นิสฺสิต นิ+ศฺริต ผู้อาศัย(อาจารย์). (ไทย) ผู้เรียนในมหาวิทยาลัย.
นุกูล อนุกูล ตามเกื้อหนุน. (ไทย) อนุกูล ตัด อ.
นุช อนุช อนุ+ช ผู้เกิดภายหลัง, น้อง. (ไทย) ตัด อ พยางค์หน้าออก.
เนตร เนตฺต เนตฺร ตา
เนรเทศ นิรเทส นิรฺเทศ ให้ออกนอกประเทศ
เนรนาถ นิร+นาถ นิรฺ+นาถ ไม่มีที่พึ่ง
เนรมิตร นิมฺมิต นิรฺมิต สร้าง, ทำ, นิรมิต. (ไทย) สร้างหรือบันดาลด้วยอํานาจ ฤทธิ์ หรืออภินิหารให้บังเกิดเป็นขึ้นมีขึ้นโดยฉับพลัน.
บงกช ปงฺกช ปงฺกช บัว "เกิดในตม"
(เรือ)บด? โปต โปต boat เรือเล็กของเรือกำปั่น
บรม ปรม ปรม อย่างยิ่ง, ที่สุด
บรรจถรณ์ ปจฺจตฺถรณ ปฺรตฺยาสฺตรณ เครื่องลาด, เครื่องปู
บรรณ ปณฺณ ปรฺณ ใบไม้, หนังสือ
บรรพชิต ปพฺพชิต ปฺรวฺรชิต นักบวชพุทธ
บรรพต ปพฺพต ปรฺวต ภูเขา
บรรยาย ปริยาย ปรฺยาย ความเป็นไปรอบ, ลำดับ. (ไทย) การสอน, การเล่าเรื่อง
บรรลัย ปลย ฉิบหาย, วอดวาย, สิ้นกัป, ประลัย
บรรสาร ปริ+สาร ปริ+สาร เที่ยวไปรอบ (คลี่ออก)
บรรหาร ปริหาร ปริหาร นำไปรอบ (เฉลย, กล่าว, แก้, สั่ง)
บริกร ปริ+กร ปริ+กร ผู้รับใช้ "ทำรอบๆ"
บริการ ปริ+การ ปริ+การ การรับใช้, ช่วยเหลือ
บริขาร ปริกฺขาร ปริษฺการ เครื่องใช้ของพระสงฆ์
บริจาค ปริจฺจาค ปริตฺยาค สละให้
บริบาล ปริปาล ปริปาล คุ้มครองรอบ (ดูแล, รักษา, เลี้ยงดู)
บริบูรณ์ ปริปุณฺณ ปริปูรฺณ เต็มรอบ
บริภาษณ์ ปริภาส ปริภาษ การด่า
บริโภค ปริโภค ปริโภค การกิน
บริรักษ์ ปริรกฺข ปริรกฺษ รักษารอบ (ดูแล, ปกครอง, รักษา)
บริวาร ปริวาร ปริวาร ผู้แวดล้อม
บริษัท ปริสา ปริษทฺ ผู้นั่งรอบ
บริหาร ปริหาร ปริหาร รับผิดชอบจัดการ
บวช ป+วช ปฺร+วฺรช บวช "เว้นทั่ว"
บวร ป+วร ปฺร+วร ประเสริฐ, ล้ำเลิศ
บัญชี ปญฺชิ สมุดบันทึกรายการ
บัณฑิต ปณฺฑิต ปณฺฑิต ผู้รู้, ผู้ทรงความรู้, คนฉลาด
บัณฑุกัมพล ปณฺฑุ+กมฺพล ปาณฺฑุ+กมฺพล ผ้าขนสัตว์สีเหลือง
บัณเฑาะก์ ปณฺฑก ปณฺฑก กะเทย
บัณเฑาะว์ ปณฺฑว กลอง
บัลลังก์ ปลฺลงก ปรฺยงฺก แท่น
บาป ปาป ปาป ความชั่ว, ความมัวหมอง
บารมี ปารมี ปารมิตา ปารมิตา คุณความดีที่ได้บำเพ็ญมา
บาลี ปาลิ ปาลิ ภาษา, แถว, แนว, เส้น, เขต
บิดา ปิตา ปีตฺฤ พ่อ
บุญ ปุญฺญ ปุณฺย ความดี, คุณความดี
บุญฤทธิ์ ปุญฺญ+อิทฺธิ ปุณฺย+ฤทฺธิ ความสำเร็จด้วยบุญ
บุตร ปุตฺต ปุตฺร ลูกชาย
บุนนาค ปุนฺนาค ปุนฺนาค ไม้บุนนาค, พิกุล
บุปผา ปุปฺผ ปุษฺป ดอกไม้; ระดู.
บุพ, บุพพ, บูรพ, บูรพา ปุพฺพ ปูรฺว ก่อน, แรก, แต่ก่อน, เบื้องต้น
บุษราคัม ปุษฺปราค พลอยสีเหลือง
เบญจ ปญฺจ ปญฺจนฺ penta(gon) ห้า
เบญจเพส ปญฺจวีส ปญฺจวีศ ยี่สิบห้า. (ไม่เกี่ยวกับเพศชายหญิง)
โบกขร, บุษกร โปกฺขรํ ปุษฺกร สระบัว
โบราณ โปราณ เปาราณ มีมาแล้วช้านาน
โบสถ์ อุโปสถ อุปวสถ, อุโปษธ (ไทย) อุโบสถ (ตัด อุ พยางค์หน้าออก) สถานที่สงฆ์ใช้ประชุมทําสังฆกรรม เช่น สวดพระปาติโมกข์ อุปสมบท มีสีมาเป็นเครื่องบอกเขต; อนุโลมเรียกสถานที่ประกอบพิธีกรรมของศาสนาอื่นว่า โบสถ์ เช่น โบสถ์พราหมณ์ โบสถ์คริสต์.
ปกติ, ปรกติ ปกติ ปฺรกฺฤติ ธรรมดา
ปกรณ์ ปกรณ ปฺรกรณ ทำทั่ว, คัมภีร์
ปกิณกะ ปกิณฺณก ปฺรกีรฺณก เกลื่อนกล่นทั่ว (เรี่ยราย, เบ็ดเตล็ด)
ปฏิการ ปฏิการ ปฺรติการ การทำตอบ (การตอบแทน, สนองคุณ)
ปฏิกิริยา ปฏิกิริยา ปฺรติกฺริยา กิริยาสะท้อนกลับ
ปฏิญญา ปฏิญฺญา ปฺรติชฺญา ข้อตกลงยืนยัน
ปฏิทิน ปฏิทิน ปฺรติทิน เฉพาะวัน
ปฏิปักษ์ ปฏิปกฺข ปฺรติปกฺษ ฝ่ายตรงข้าม
ปฏิพจน์ ปฏิวจน ปฺรติวจน คำตอบ
ปฏิพากย์ ปฏิวากฺย ปฺรติวากฺย พูดตอบ
ปฏิภาค ปฏิภาค ปฺรติภาค ส่วนตอบ (ส่วนเปรียบ)
ปฏิมา ปฏิมา ปฺรติมา รูปเปรียบ
ปฏิวัติ ปฏิ+วตฺติ ปฺรติ+วฤตฺติ. หมุนกลับ
ปฏิเวธ ปฏิเวธ ปฺรติเวธ เข้าใจตลอด
ปฏิสนธิ ปฏิสนฺธิ ปฺรติสํธิ การเกิด
ปาฏิหาริย์ ปาฏิหาริย ปฺราติหารฺย ความเป็นไปเฉพาะ, สิ่งที่น่าอัศจรรย์, ความอัศจรรย์
ปฐม ปฐม ปฺรถม ที่หนึ่ง
ปฐวี ปฐวี ปถวี ปฺฤถิวี, ปฺฤถฺวี แผ่นดิน
ปรอท ปราท ปราท ธาตุปรอท
ประกฤต ปกต ปฺรกฺฤต ทำทั่ว (ทำมาก)
ประการ ปการ ปฺรการ การทำทั่ว (อย่าง, ชนิด)
ประชวร ป+ชร ปฺร+ชฺวร เจ็บป่วย
ประชาชาติ ปชา+ชาติ ปฺรชา+ชาติ หมู่คน
ประชาบาล ปชา+ปาล ปฺรชา+ปาล ผู้รักษาประชาชน
ประณต ปณต ปฺรณต, ปฺร+นมฺ เอียง, น้อม, นอบน้อมไหว้ (การน้อมไหว้)
ประณาม ปณาม ปฺรณาม การน้อม, การน้อมไหว้; การขับ, ผลัก, การติเตียน
ประดิษฐ์ ปติฏฺฐ ปฺรติษฺฐ การตั้งไว้. (ไทย) การสร้างขึ้น.
ประดิษฐาน ปติฏฺฐาน ปฺรติษฺฐาน การตั้งไว้
ประติมากรรม ปฏิมา+กมฺม ปฺรติมา+กรฺม การทำรูปเปรียบ. รูปปั้น, รูปแกะสลัก
ประทีป ปทีป ปฺรทีป สว่างทั่ว (ตะเกียง, โดม)
ประปา ปปา ปฺรปา น้ำดื่ม, โรงสำหรับไว้น้ำดื่ม, บ่อน้ำ
ประพฤติ ปวุตฺติ ปฺรวฺฤตฺติ ความเป็นไปอันเกี่ยวด้วยการกระทําหรือปฏิบัติตน, เหตุต้นเค้า. ปฏิบัติ
ประเพณี ปเวณิ ปฺรเวณิ เชื้อสาย. (ไทย) สิ่งที่ถือประพฤติปฏิบัติสืบต่อกันมา
ประภัสสร ปภสฺสร ปฺรภาสฺวร รัศมีที่แล่นออกไป (สีเลื่อมพราย)
ประเภท ปเภท ปฺรเภท ความแตกต่าง
ประมาท ปมาท ปฺรมาท มัวเมา, เลินเล่อ. (ไทย) ดูหมิ่น-หมิ่นประมาท (?? = ปรามาส)
ประยุกต์ ปยุตฺต ปฺรยุกฺต ปฺร+ยุชฺ ประกอบแล้ว
ประโยชน์ ปโยชน ปฺรโยชน ความขวนขวาย
ประวัติ ปวตฺติ ปฺรวรฺตน? ความเป็นไปทั่ว (เรื่องราว, ข่าวคราว)
ประเวณี ปเวณิ ปฺรเวณิ เชื้อสาย. (ไทย) การเสพสังวาส
ประสก อุปาสก อุบาสก
ประสงค์ ปสงฺค ปฺรสงฺค ต้องการ, อยากได้; มุ่งหมาย, มุ่ง
ประสบ พบ, พบเห็น เช่น ประสบการณ์ ความจัดเจนที่เกิดจากการกระทําหรือได้พบเห็นมา มักเขียนผิดเป็น ประสพการณ์
ประสพ ปสว ปฺรสว การเกิดผล
ประสิทธิ์ ปสิทฺธิ ปฺรสิทฺธิ ความสำเร็จ
ประสูติ ปสูติ ปฺรสูติ การเกิด
ปรัชญา ปญฺญา ปฺรชฺญา ปัญญา. (ไทย) วิชาที่ว่าด้วยความจริง.
ปรัตยักษ์ ปจฺจกฺข ปฺรตฺยกฺษ ประจักษ์ "เห็นกับตา"
ปรัมปรา ปรมฺปรา ปรมฺปรา สืบๆ กันมา
ปรัศว์, ปลัด ปสฺส ปารฺศฺว ข้าง
ปรากฏ ปากต ปฺรกฏ การทำไปทั่ว, แสดงทั่ว (เห็น)
ปราจีน ปาจีน ปฺราจีน ทิศตะวันออก
ปราชัย ปราชย ปราชย แพ้
ปราณ ปาณ ปฺราณ ลมหายใจ; ผู้มีลมหายใจ, สัตว์, คน
ปราณี ปาณี ปฺราณินฺ "ผู้มีลมหายใจ", ผู้มีชีวิต, สัตว์, คน
ปรานี [ปฺรา-] (ไทย) เอ็นดูด้วยความสงสาร
ปราบดาภิเษก ปตฺต+อภิเสก ปฺราปฺต+อภิเษก "ถึงการรดเฉพาะ". พิธีอภิเษกของพระราชาซึ่งได้สมบัติด้วยการรบชนะข้าศึก
ปรามาส [ปฺรา-] ปรามาส ปรามรฺศ ยึดถือ; ลูบคลำ, จับต้อง. (ไทย) ดูถูก
ปราโมทย์ ปาโมชฺช ปฺรโมท+ย ความบันเทิงทั่ว
ปรารถนา ปตฺถนา ปฺรารฺถนา ความต้องการ
ปรารภ ป+อา+รภ ปฺร+อา+รภ เริ่มทั่ว (ตั้งต้น, กล่าวถึง, ดำริ)
ปรารมภ์ ป+อา+รมฺภ ปฺร+อา+รมฺภ เริ่มทั่ว (เริ่มแรก, รำพึง, ครุ่นคิด)
ปราศรัย ปฺรศฺรย พูดด้วยไมตรีจิต, การแสดงอัชฌาสัยในระหว่างผู้ใหญ่ต่อผู้น้อยหรือผู้ที่เสมอกัน; คําปรารภ.
ปราษณี ปณฺหิ ปาสณิ ปารฺษฺณิ ส้นเท้า
ปราสาท ปาสาท ปฺราสาท เรือนสี่เหลี่ยมจตุรัส. ที่อยู่ของพระราชา
ปริเฉท, ปริจเฉท, ฉินท์ ปริจฺเฉท ปริจฺเฉท ตัด, แบ่ง, การตัดรอบ (การกำหนด, ตอน, หมวด)
ปริญญา ปริญฺญา ปริชฺญา รอบรู้
ปริณายก ปรินายก ปริณายก ผู้นำไปรอบ (ผู้นำบริวาร, หัวหน้า, ผู้เป็นใหญ่)
ปริภาษ ปริภาส ปริภาษ การติเตียน
ปริมณฑล ปริมณฺฑล ปริมณฺฑล วงกลม
ปริยัติ ปริยตฺติ ปรฺยาปฺติ การเล่าเรียน
ปริยาย ปริยาย ปรฺยาย ทาง, นัยทางอ้อม, ความเป็นไปรอบ, ลำดับ.
ปักษ์ ปกฺข ปกฺษ ข้าง, ฝ่าย, ปีก
ปัจจุบัน ปจฺจุปฺปนฺน ปรตฺยุตฺปนฺน ขณะนี้, "เกิดขึ้นเฉพาะหน้า"
ปัจเจก ปจฺเจก ปฏิ+เอก ปฺรตฺเยก เฉพาะบุคคลเดียว
ปัจเจกชน ปจฺเจกชน ปฺรตฺเยกชน คนหนึ่งเฉพาะ
ปัจฉิมนิเทศ ปจฺฉิมนิทฺเทส ปศฺจิมนิรฺเทศ การชี้แนะครั้งสุดท้าย (ก่อนจบการศึกษา เป็นต้น)
ปัจฉิมวัย ปจฺฉิมวย ปศฺจิมวฺยย วัยสุดท้ายของชีวิตก่อนตาย
ปัจฉิมโอวาท ปจฺฉิม+โอวาท ปศฺจิม+อววาท คำสั่งสอนสุดท้าย
ปัจนึก ปจฺจนีก ปฺรติยนีก ข้าศึก, ศัตรู
ปัญญา ปญฺญา ปฺรชฺญา ความรอบรู้
ปัญหา, ปริศนา ปญฺห ปฺรศฺน คำถาม
ปั้ดโธ่, พุทโธ่ พุทฺโธ (ไทย) คำอุทาน
ปัตตานึก ปตฺตานีก ปตฺติ+อนีก กองทัพราบ, พลเดินเท้า
ปัทมา, ปทุม ปทุม ปทฺม บัว
ปัทมากร ปทุม+อากร ปทฺม+อากร สระ (บ่อเกิดแห่งบัว)
ปัปผาสะ ปปฺผาส ปอด
ปัสสาวะ ปสฺสาว ปฺรสฺราว เยี่ยว
ปัสสาสะ ปสฺสาส ปฺร+ศฺวาส การหายใจออก
ปราจีน ปาจีน ปฺราจีน ทิศตะวันออก
ปาฏิบท ปาฏิปท ปฺริปทฺ ค่ำหนึ่ง, (ไทย) บทเฉพาะ
ปาฐก ปาฐก ปาฐก ผู้พูด
ปาราชิก ปาราชิก ปาราชิก ผู้พ่ายแพ้
ปิติ ปิติ ปฺรีติ ยินดี
ปิตุจฉา ปิตุจฺฉ ปีตฺฤษฺวสฺฤ ป้า, น้า
ปิตุเรศ ปิตุ+อิสฺสร ปีตฺฤ+อีศฺวร บิดา
ปิยะ, เปีย ปิย ปฺรย ที่รัก
ปิเยารส, ปิโยรส ปิย+โอรส ปฺรย+เอารส โอรสที่รัก
ปุจฉา ปุจฺฉา ปฺฤจฺฉา คำถาม
บีฑา ปีฬ ปีฑ beat ตี, เบียดเบียน, ทำร้าย
ปุถุชน ปุถุชฺชน ปฺฤถคฺชน ประชาชน
ปุริส ปุริส ปุรุษ person ผู้ชาย
ปุโรหิต, ปโรหิต, ประโรหิต ปุโรหิต ปุโรหิต ที่ปรึกษาของพระราชา
เปตพลี เปตพลี เปฺรตพลี การเซ่นสรวงที่ทําให้ผู้ตายไปแล้ว
เปรต เปต เปฺรต ผู้ที่ตายไปแล้ว, สัตว์อบายประเภทหนึ่ง มีหลายชนิด
เปรม เปม เปฺรม ความรัก
ไปยาล เปยฺยาลํ เปยาล เครื่องหมายละข้อความ
ไปรษณีย์ เปสนีย เปฺรษณีย (ไทย) การส่งหนังสือและหีบห่อสิ่งของเป็นต้นโดยมีองค์การที่ตั้งขึ้นเป็นเจ้าหน้าที่รับส่ง
ผลิตผล ผลิต+ผล ผลิต+ผล ผลที่ผลิตออกมาแล้ว
ผลึก ผลิก, ผลิกา สฺผฎิก ชื่อแก้วอย่างหนึ่งมีสีขาวใส
ผัสสะ ผสฺส การกระทบ, การถูกต้อง
ผาณิต ผาณิต ผาณิต น้ำอ้อย, (น้ำตาล), น้ำอ้อยงบ
ผาล ผาล ผาล ผาล ชื่อเหล็กสำหรับสวมหัวหมูเครื่องไถ
ผาสุก ผาสุ, ผาสุก ความอิ่มใจ
พจนีย์ วจนีย วจนีย ที่ตั้งแห่งการพูด, ควรพูด, น่าสรรเสริญ
พธู วธู วธู หญิงสาว
พนัสบดี วนปฺปติ วนสฺปติ ไม้ใหญ่ที่สุดในป่า
พยัคฆ์ วฺยคฺฆ วฺยาฆฺร เสือ, เสือโคร่ง
พยัญชนะ วฺยญฺชน, พฺยญฺชน วฺยญฺชน ตัวหนังสือ
พยากรณ์ พฺยากรณ วฺยากรณ การแก้, การเฉลย, "ทำให้แจ้ง". (ไทย) ทำนาย
พยาธิ พฺยาธิ, วฺยาธิ วฺยาธิ (พะ-ยา-ทิ) ความเจ็บไข้ เช่น โรคาพยาธิ. (ไทย) (พะ-ยาด) สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง เช่น พยาธิไส้เดือน
พยาบาท พฺยาปาท วฺยาปาท ผูกใจเจ็บ
พยาบาล วฺยา+ปาล วฺยา+ปาล (ไทย) ดูแลรักษาผู้ป่วย
พยายาม วายาม วฺยายาม พยายาม, ความเพียร
พยุหยาตฺรา พฺยูหยาตฺรา วฺยูหยาตฺรา การเดินไปเป็นหมู่, การเดินทัพ
พยูห-, พยู่ห์ วฺยูห, พฺยูห วฺยูห กระบวน, หมู่, ประชุม, กองทัพ
พร วร วร คำแสดงความปรารถนาดี, สิ่งที่ขอเลือกเองตามประสงค์
พรรษา วสฺส วรฺษ ฝน
พรหมจรรย์ พฺรหฺมจริย พฺรหฺมจรฺย ความประพฤติอันประเสริฐ,  การถือพรตบางอย่าง เช่นเว้นเมถุนเป็นต้น
พรหมจารี พฺรหฺมจารี, พฺรหฺมจาริณี พฺรหฺมนฺ+จารินฺ ผู้มีความประพฤติอันประเสริฐ. (ไทย) หญิงที่ยังบริสุทธิ์ ยังไม่เคยมีเพศสัมพันธ์กับผู้อื่น.
พฤกษ์ รุกฺข วฺฤกฺษ ต้นไม้
พฤศจิกายน วิจฺฉิก+อายน วฺฤศฺจิก+อายน (ไทย) ชื่อเดือนที่ดวงอาทิตย์มาสู่ราศีแมงป่อง
พฤษภาคม อุสภ+อาคม วฺฤษภ+อาคม (ไทย) ชื่อเดือนที่ดวงอาทิตย์มาสู่ราศีวัว
พฤหัสบดี วิหปฺปติ วฺฤหสฺปติ ดาวพฤหัสบดี; ชื่อวันที่ 5 ของสัปดาห์.
พละ พล พล กำลัง, (ไทย) กำลังทหาร, ทหาร
พสุธา วสุธา วสุธา แผ่นดิน
พหุ, พหู พหุ พหุ มาก
พหูสูต พหุสฺสุต พหุ+ศฺรุต ฟังมามาก
พัฒนา วฑฺฒน วรฺธน การทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้ก้าวหน้าไปในทางที่ดี
พันธะ พนฺธ พนฺธ bond การผูก, มัด, รัด
พัสตรา วตฺถ วสฺตฺร ผ้า
พาชี วาชี วาชี ม้า
พาณิช วาณิช วาณิช พ่อค้า
พาที วาที วาทินฺ พูดจา
พายุ วาย วายุ วายุ ลม. (ไทย) ลมที่พัดรุนแรง
พาล พาล พาล อ่อน เขลา. (ไทย) คนชั่วร้าย, คนเกเร.
พ่าห์ พาหะ วาห วาห ผู้แบก, ผู้ถือ, ผู้ทรงไว้; ตัวนำ(โรค)
พาหนะ วาหน วาหน เครื่องพาไป
พาหา พาหา พาหา แขน
พาหุรัด ภารต (ไทย) ชื่อถนนในกรุงเทพฯ ที่มีชาวอินเดียมาอาศัยอยู่มาก เข้าใจว่า เสียงเพี้ยนมาจากคำว่า ภารต (Bharata อินเดีย); เครื่องประดับที่ใช้สวมรัดต้นแขน=ทองต้นแขน.
พาเหียร พาหิร พาหิรา พหฺย พหิสฺ ภายนอก
พิกุล วกุล วกุล ดอกพิกุล
พิจารณา วิจารณ วิจารณา วิจารณา ตรวจตรา, ตริตรอง, สอบสวน
พิชิต วิชิต วิชิต ปราบให้แพ้, ชนะแล้ว
พิณ วีณา วีณา เครื่องดนตรีชนิดหนึ่ง
พิทักษ์ วิ+ทกฺข วิ+ทกฺษ ทักษะ, ขยัน, มีฝีมือ, ฉลาด, ชำนาญ. (ไทย) ดูแลคุ้มครอง.
พิธี วิธิ วิธิ งานที่จัดขึ้นตามลัทธิเพื่อความขลัง
พิมาน วิมาน วิมาน ที่อยู่ของเทวดา
พิมพ์ พิมฺพ พิมฺพ แบบ (รูป), รูปดวงจันทร์; รูปเปรียบ. (ไทย) ถ่ายแบบ เช่น พิมพ์ผ้า พิมพ์ขนมเป็นรูปต่างๆ หรือทําให้เป็นตัวหนังสือหรือรูปรอยอย่างใดๆ.
พิรุณ วรุณ วรุณ ฝน
พิศวาส วิสฺสาส วิศฺวาส ความคุ้นเคย, ความวางใจ, ความรักใคร่
พิเศษ วิเสส วิเศษ ยิ่งกว่าปกติ, แปลกกว่าสามัญ
พิสดาร วิตฺถาร วิสฺตาร กว้างขวาง, ละเอียด
พิสุทธิ์ วิสุทฺธิ วิศุทฺธิ สะอาด, บริสุทธิ์, ใส, ขาว
พืช พีช พีช พืช, พันธุ์ไม้
พุทธ พุทฺธ พุทฺธ ผู้รู้, ผู้ตรัสรู้
พุธ พุธ พุธ ผู้รู้; ดาวพุธ; พุธวาร ชื่อวันที่ 4 แห่งสัปดาห์.
พุทธันดร พุทฺธ+อนฺตร พุทฺธ+อนฺตร ในระหว่าง(สมัย, กาล ของ)พระพุทธเจ้า(พระองค์หนึ่งๆ)
พุทธางกูร พุทฺธ+องฺกุร พุทฺธ+องฺกุร เชื้อสายของพระพุทธเจ้า (องฺกุร หน่อ, หน่อเนื้อเชื้อไข, เชื้อสาย)
พุทรา (พุด-ซา) พทร พทร ผลไม้ชนิดหนึ่ง. (ไทย) เติมสระอุ (และสระอา)
เพชฌฆาต วชฺฌ+ฆาต วธฺย+ฆาต ผู้ประหารชีวิตนักโทษ
เพชร วชิร วชฺร เพชร
เพดาน วิตาน วิตาน สิ่งที่ดาดเบื้องบนในห้อง
เพลา เวลา เวลา เวลา. (ไทย) แกนที่สอดในดุมล้อรถ/เกวียน ให้หมุนได้; เบาลง, เบาพอประมาณ.
แพทย์ เวชฺช ไวทฺย หมอ
แพศย์ เวสฺส ไวศฺย พ่อค้า; วรรณะพ่อค้า (ในวรรณะ 4)
แพศยา เวสิยา เวศฺยา โสเภณี
โพธิ์ โพธิ โพธิ รู้
ไพฑูรย์ เวฬุริย ไวฑูรฺย แก้วชนิดหนึ่ง
ไพบูลย์ เวปุลฺลํ ไวปุลฺย ความเต็มเปี่ยม, ความกว้างขวาง
ไพรี, ไพริน เวรี ไวรินฺ ผู้มีเวร, ศัตรู
ไพศาล วิสาล วิศาล กว้างวิเศษ (กว้างขวาง)
ภมร, ภุมรา ภมร ภฺรมร แมลงผึ้ง
ภรรยา, ภริยา ภริยา ภรฺยา เมีย
ภักษา ภกฺข ภกฺษ อาหารการกิน
ภัณฑุปกรณ์ ภณฺฑ+อุปกรณ ภาณฺฑ+อุปกรณ อุปกรณ์คือสิ่งของ
ภัทร ภทฺท ภทฺร ภทฺร เจริญ
ภราดา ภาตา (ภาตุ) ภฺราตฺฤ brother พี่น้องชาย
ภาพ ภาว ภาว ความมี, ความเป็น เช่น ภราดรภาพ ความเป็นพี่น้องกัน. (ไทย) รูปที่ปรากฏเห็น, รูปที่วาดขึ้น
ภาค ภาค ภาค ส่วน
ภาคภูมิ ภาค+ภูมิ (ไทย) มีสง่า, ผึ่งผาย. (บาลี ไม่มีที่ใช้ - ส่วนแห่งแผ่นดิน, แผ่นดินที่เป็นภาคหรือเป็นส่วนๆ)
ภาคิไนย ภาคิเนยฺย ภาคิเนย หลาน
ภาวนา ภาวนา ภาวนา ทำให้มี, ให้เป็น
ภาวะ ภาว ภาว ความมี, ความเป็น, ความปรากฏ
ภาษา ภาสา ภาษา เสียงใช้พูดกัน
ภิกขุ ภิกฺขุ ภิกฺษุ ภิกษุ
ภิญโญ ภิยฺโย ภีโย ภูยสฺ ยิ่ง, ยิ่งขึ้นไป
ภิรมย์ อภิรมฺม อภิ+รมฺย ยินดียิ่ง, ดีใจยิ่ง. (ไทย) อภิรมย์ ตัด อ.
ภีม ภีม ภีษฺม อันน่ากลัว
ภูมิ ภูมิ ภูมิ แผ่นดิน. (ไทย)  + (พูม) พื้น, ชั้น, พื้นเพ, ความรู้ เช่น อวดภูมิ/อมภูมิ; สง่า, โอ่โถง, องอาจ, ผึ่งผาย เช่น วางภูมิ.
ภูมิใจ ภูมิ+ ภูมิ+ (ไทย) กระหยิ่มใจ, รู้สึกว่ามีเกียรติยศ.
ภูมิฐาน ภูมิ+ฐาน ภูมิ+ (ไทย) มีสง่า, ผึ่งผาย. (บาลี ไม่มีที่ใช้ - ส่วนแห่งแผ่นดิน, แผ่นดินที่เป็นภาคหรือเป็นส่วนๆ)
ภูมิภาค ภูมิ+ภาค ภูมิ+ภาค ส่วนของแผ่นดิน, ภาคพื้น. (ไทย) หัวเมือง; (ภูมิศาสตร์) อาณาบริเวณที่มีลักษณะบางอย่างเช่นลักษณะทางธรรมชาติ ทางเศรษฐกิจ ทางวัฒนธรรม ทางการเมืองคล้ายคลึงกันจนสามารถจัดเข้าพวกกันได้ และแตกต่างกับบริเวณใกล้เคียงโดยรอบ.
มงกุฎ มกุฏ มกุฎ, มุกุฎ เครื่องสวมศีรษะ. (ไทย) มกุฏ เติม ง.
มงคล มงฺคล มงฺคล เป็นความดีงาม
มณฑก มณฺฑูก มณฺฑูก กบ
มณฑป มณฺฑป มณฺฑป เรือนยอด
มณฑล มณฺฑล มณฺฑล กลม, รูปดวงจันทร์. (ไทย) บริเวณ.
มติ มติ มติ ความเห็น
มนต์, มนตร์ มนฺต มนฺตฺร บทสำหรับสวด
มนุษย์ มนุสฺส มนุษฺย man (มนู) คน
มนุษยชาติ มนุสฺสชาติ มนุษฺยชาติ มนุษย์
  มน มนสฺ mind ใจ
มโนภาพ มน+ภาว มนสฺ+ภาว (ไทย บัญญัติ) ภาพที่เกิดทางใจ, ความคิดเห็นที่เกิดเป็นภาพขึ้นในใจ
มโนรถ มโนรถ มโนรถ ความปรารถนาแห่งใจ, ความประสงค์
มโนรม มโนรม มโนรม เป็นที่ชอบใจ, งาม
มรณะ มรณ มรณ mortal (มต) การตาย, ความตาย. (ไทย) มักนำไปใช้เขียนบอกวันเกิด-ตาย ในงานศพ เช่น ชาตะ-มรณะ (แปลว่า เกิดแล้ว-การตาย) ความจริง ควรใช้ว่า ชาตะ-มตะ (แปลว่า เกิดแล้ว-ตายแล้ว) เพราะเป็นศัพท์กิริยาเช่นเดียวกัน.
มรรค มคฺค มารฺค หนทาง
มรรคนายก มคฺคนายก มารฺคนายก ''ผู้นําทาง'' คือ ผู้จัดการทางกุศล หรือ ผู้ชี้แจงทางบุญทางกุศลและป่าวประกาศให้ประชาชนมาทำบุญทำกุศลในวัด.
มฤธุ มธุ มฤธุ น้ำผึ้ง
มหรรณพ มหา+อณฺณว มหา+อรฺณว ห้วงน้ำใหญ่
มหัศจรรย์ มหา+อจฺฉริย มหา+อาศฺจรฺย แปลกประหลาดมาก
มหาผล มหาผล มหาผล ผลใหญ่
มหาราชา มหา+ราช มหา+ราชนฺ พระราชาใหญ่
มหินทร์ มหา+อินฺท มหา+อินฺทฺร ผู้ยิ่งใหญ่
มเหสี มเหสี มหิษี นางกษัตริย์, มเหสี; เทวี, ชายาพระเจ้าแผ่นดิน.
มเหาฬาร, มโหฬาร มหา+โอฬาร ยิ่งใหญ่
มโหสถ มหา+โอสถ มหา+โอสธ ยาอันวิเศษ
มไหศูรย์ มหา+อิสฺสร มหา+อีศฺวร ความเป็นใหญ่มาก
มัคคุเทศก์ มคฺค+อุทฺเทส มารฺค+อุทฺเทศ ผู้นำทาง, ผู้นำแสดง
มังกร มกร มกร ชื่อสัตว์ชนิดหนึ่ง. (ไทย) มกร เติม ง สะกด.
มังสะ มํส มามฺส เนื้อ
มัจจุ, มฤตยู มจฺจุ มฺฤตฺยุ ความตาย
มัจฉา, มัศยา มจฺฉ มตฺสฺย ปลา
มัชช, ประมาท, มาทน์ มชฺช ปมาท มทน มทฺย ปฺรมาท มทน เมา, ประมาท
มัชฌิม, มัธยม มชฺฌิม มธฺยม media, medium กลาง
มัธยฐาน มชฺฌ+ฐาน มธฺย+สฺถาน เส้นแบ่งครึ่งฐาน
มาตุรงค์ มาตุ+? แม่, (มาตุลุงฺโค มะงั่ว)
มานะ มาน มาน ความถือตัว (เป็นกิเลสประเภทหนึ่ง มี 16 อย่าง เช่น ถือตัวว่าดีกว่าเขา เสมอกับเขา ต่ำกว่าเขา เป็นต้น). (ไทย) มีความอดทน.
มายา มายา มายา การลวง, การแสร้งทํา.
มายูร มายุร มายูร ฝูงนกยูง
มารดา (มาน-ดา) มาตา (มาตุ) มาตฺฤ แม่. (ไทย) เติม ร.
มารยา (มาน-ยา) มายา มายา การลวง, การแสร้งทํา. (ไทย) มายา เติม ร.
มารยาท มริยาทา มรฺยาทา เขตแดน. (ไทย) กิริยาวาจาที่ถือว่าสุภาพเรียบร้อยถูกกาลเทศะ, มารยาท ก็ว่า.
มาลา มาลา มาลา ระเบียบดอกไม้, มาลัย
มาลี มาลี มาลินฺ ระเบียบ, ดอกไม้
มิจฉา มิจฺฉา มิถฺยา mis- ผิด
มิติ มิต มิต (ไทย) การวัด, การนับ
มุกดา มุตฺตา มุกฺตา แก้วมุกดา
มุข มุข มุข หน้า, ปาก; ทาง; หัวหน้า, หัวข้อ. (ไทย) ส่วนของตึกหรือเรือนที่ยื่นออกมาจากส่วนใหญ่ มักอยู่ด้านหน้า; มุข(ตลก)
มุทิตา มุทิตา มุทิตา ความเป็นผู้พลอยยินดี
มุนินทร์ มุนิ+อินฺท มุนิ+อินฺทฺร จอมมุนี, จอมปราชญ์
มุนี มุนิ มุนิ ผู้รู้, นักปราชญ์, ฤษี, พระสงฆ์
มุสาวาท มุสาวาท มฺฤษา+วาท กล่าวเท็จ
มิตร มิตฺต มิตฺร เพื่อน, มิตร
เมรัย เมรย ไมเรย เหล้าหมัก
เมรุ (เมน), เมรุ- (เม-รุ-) เมรุ เมรุ ชื่อภูเขากลางจักรวาล มียอดเป็นที่ตั้งแห่งเมืองสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ซึ่งพระอินทร์อยู่. (ไทย) ที่เผาศพ.
 
เมตตา ไมตรี เมตฺตา ไมตฺร ไมตฺรี ความเป็นเพื่อน, ความเป็นมิตร
โมกษะ, โมกข์ โมกฺข โมกฺษ ความหลุดพ้น
โมลี, เมาลี โมลิ เมาลิ ผม, มวยผม, ส่วนที่สูง
โมโห โมห โมห โมหะ, หลง, เขลา, โง่. (ไทย) โกรธ.
ยถา ยถา ยถา ฉันใด, ตาม...
ยนต์, ยนตร์ ยนฺต ยนฺตฺร เคลื่อนไหวด้วยกลไก
ยศ ยส ยศสฺ ยกย่องนับถือเกียรติของตน, ฐานันดรที่ตั้งให้แก่บุคคล มีสูงต่ำตามลำดับ.
ยโส ยส ยศสฺ ดู ยศ.  (ไทย) เย่อหยิ่งเพราะถือตัวว่ามียศ มีปัญญา มีความรู้ ฯลฯ.
ยโสธร ยโสธร ยศสฺ+ธร ผู้ทรงไว้ซึ่งยศ, ทรงยศ
ยาจก ยาจก ยาจก ผู้ขอ. (ไทย) เติม กระ- เป็น กระยาจก บ้าง.
ยาตรา ยาตฺรา ยาตฺรา การเลี้ยงชีวิต, การยังชีวิตให้เป็นไป; การเดิน, การเดินทัพ
ยุติ ยุตฺติ ยุกฺติ ชอบ, ถูกต้อง. (ไทย) ตกลง, จบ, เลิก.
ยุติธรรม ยุตฺติ+ธมฺม ยุกฺติ+ธรฺม ชอบธรรม, ความถูกต้อง. (ไทย) ความเที่ยงธรรม ไม่เอนเอียงเข้าข้างใดข้างหนึ่ง.
ยุทธภูมิ ยุทฺธ+ภูมิ ยุทฺธ+ภูมิ สนามรบ
ยุพเรศ ยุว+อิสฺสร ยุวนฺ+อีศวร (ไทย) ชายหนุ่มหญิงสาว (ผู้เป็นใหญ่), นางกษัตริย์, หญิงสาวสวย
เยาว์ ยุว ยุวนฺ youth, young หนุ่ม, รุ่น
เยาวเรศ ยุว+อิสฺสร ยุวนฺ+อีศวร (ไทย) ชายหนุ่มหญิงสาว (ผู้เป็นใหญ่), นางกษัตริย์, หญิงสาวสวย
โยค, โยชน์ โยค, โยชน โยค, โยชน yoke ประกอบ
โยธา โยธ โยธี โยธ โยธินฺ นักรบ, ทหาร, (ไทย) นักรบ, งานที่ใช้กําลังกายก่อสร้าง
รณรงค์ รณ+รงฺค การรบ; สนามรบ, ต่อสู้. (ไทย) โฆษณาชักชวนอย่างต่อเนื่องเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย เช่น รณรงค์หาเสียง. ลบ ร เหลือ ณรงค์ ก็มี
รถยา, รัจฉา รจฺฉา รถฺยา ทางเดิน, ถนน, ตรอก
รถานึก รถานีก รถานีก กองทัพรถ, พลรถ
รมย์ รมฺม รมฺย ยินดี, รื่นรมย์
รวี, รพี รวิ รวิ พระอาทิตย์
รหัส รโห รหสฺ ความลับ
รโหฐาน รโห+ฐาน รหสฺ+สฺถาน ที่ลับ. (ไม่ได้แปลว่า ใหญ่โต)
รักษา, รักขา รกฺข รกฺษ คุ้มครองป้องกัน
รังสี รํสิ รสฺมิ รศฺมิ แสง, แดด; เชือก. (ไทย) ลำแสง.
รัฐ รฏฺฐ ราษฺฏร แคว้น
รัฐบุรุษ รฏฺฐ+ปุริส ราษฺฏร+ปุรุษ คนสำคัญของประเทศ
  รตฺต รกฺต red แดง
รัตนะ รตน รตฺน แก้ว
รัศมี รํสิ รสฺมิ รศฺมิ แสง, แดด; เชือก. (ไทย) ลำแสง.
ราชูปโภค ราช+อุปโภค ราชนฺ+อุปโภค เครื่องใช้สอยของพระราชา
รามเกียรติ์ ราม+กิตฺติ ราม+กีรฺติ ชื่อเสียงของพระราม; เรื่องที่ดัดแปลงจากวรรณคดีประเภทมหากาพย์ของอินเดีย ที่ชื่อว่า รามายณะ (แปลว่า เรื่องราวของพระราม)
ราษฎร รฏฺฐ ราษฺฏร ผู้อยู่ในแคว้น, ชาวเมือง
รำไพ รวิ รวิ ดวงอาทิตย์. (ไทย) งามผุดผ่อง
ริษยา อิสฺสา อีรฺษฺยา ความรู้สึกไม่อยากให้ผู้อื่นได้ดี
รุกข์, พฤกษ์ รุกฺข วฺฤกฺษ ต้นไม้
รุจี รุจิ รุจิ ความรุ่งโรจน์
โรค, โรคา โรค โรค สิ่งที่เบียดเบียน
ฤกษ์ (เริก) ฤกฺษ หมี; ดาวจรเข้, ดาวนพเคราะห์. (ไทย) คราวหรือเวลาที่กําหนดหรือคาดว่าจะให้ผล เช่น ฤกษ์ดี ฤกษ์ร้าย; ดาวที่มีแสงสว่างในตัวเอง.
ฤดู, อุตุ อุตุ ฤตุ ฤดู, ดินฟ้าอากาศ. (ไทย ปาก) +สบาย เช่น นอนหลับอุตุ.
ฤทธิ อิทฺธิ ฤทฺธิ ฤทธิ์, อิทธิ
ฤทัย หทย หฺฤทย heart หัวใจ, ใจ. (ไทย) ตัด ห, ตัด หฤ เช่น พระทัย.
ฤษี ฤๅษี อิสิ ฤษิ นักบวชผู้อยู่ในป่า
  ลส ลษ, ลสฺ lust ใคร่, อยากได้
ลัคนา ลคฺคน ลคฺน เกี่ยวข้อง, (โหร) เกี่ยวข้อง
ลัดดา ลตา ลตา ไม้เลื้อย, เถาวัลย์
ลามก ลามก หยาบช้าต่ำทราม. (ไทย) สิ่งที่ดูสกปรกหยาบคาย โดยเฉพาะในเรื่องเพศ
ลีลา ลีลา ลีลา เยื้องกราย, ทำนองงาม, ท่าทางอันงาม เช่น พุทธลีลา ชื่อพระพุทธรูปปางหนึ่ง.
ลีลาศ ลีลา ลีลา (ไทย) เติม ศ, เต้นรําแบบตะวันตกบางชนิด.
ลึงค์ ลิงฺค ลิงฺค เพศ, เครื่องหมายเพศ
เลข, เลขา เลขา เลขา รอยขีดเขียน
เลขานุการ เลขา+อนุการ เลขา+อนุการ ผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับหนังสือ จดหมายโต้ตอบ ในสำนักงาน หรืออื่นๆ
เล่ห์ ลิหฺ (เลีย) กลอุบาย
โลก, โลกย, โลกีย์ โลก โลกิย โลก เลากฺย เห็น
โลกันต์ โลกนฺต โลกนฺต ที่สุดแห่งโลก
โลภ ลุภ โลภ โลภ love รัก, อยากได้, กำหนัด, โลภ
วงกต วงก วงฺกต วกฺร ชื่อภูเขาลูกหนึ่งในเรื่องมหาเวสสันดรชาดก ซึ่งมีทางเข้าออกวกวนอาจทําให้หลงทางได้, เรียกสั้นๆ ว่า เขาวงก์ ก็มี
วชิราวุธ วชิร+อาวุธ วชฺร+อายุธ อาวุธคือสายฟ้า (ของพระอินทร์)
วนาดร วน+อนฺตร ในป่า. (ไทย) วนาดอน ป่าสูง = วนา+ดอน. พนาดร ก็ว่า
วนิดา วนิตา วนิตา หญิงสาว
วรรค, พรรค วคฺค วรฺค ตอน, พวก, หมู่
  วม วมน วมน vomit อาเจียน
วรรณ, พรรณ วณฺณ วรฺณ สี, ผิว
วรวิหาร วร+วิหาร วร+วิหาร+ย ที่อยู่อันประเสริฐ. (ไทย) คำต่อท้ายชื่อวัด บอกว่าเป็นพระอารามหลวง ประเภทหนึ่ง.
วโรกาส วร+โอกาส วร+โอกาศ โอกาสอันประเสริฐ
วสันต์ วสนฺต วสนฺต ฤดูใบไม้ผลิ
วัฏฏะ, วัฏ วฏฺฏ วฺฤตฺต กลม, วน, หมุน
วัฒนา วฑฺฒน วรฺธน ความเจริญ
วัลลภ วลฺลภ วลฺลภ คนคุ้นเคย, คนสนิท; คนน่ารัก น่าเอ็นดู; คนดูแลกิจการ
วาจา วาจา วาจา คำพูด
วานร วานร วานร ลิง
วาระ วาร วาร ผู้กำหนด, ปิดกั้น
วาสนา (วาด-สะ-หฺนา) วาสนา วาสนา อาการกายวาจา ที่เป็นลักษณะพิเศษของบุคคล สั่งสมมานานจนเคยชินเป็นบุคคลิกเฉพาะ  เช่น คำพูดติดปาก การเดินเร็วๆ หรือล่อกแล่ก. (ไทย) อำนาจบุญเก่า, กุศลที่ทําให้ได้รับลาภยศ เช่น เด็กคนนี้มีวาสนาดี มีพ่อแม่ร่ำรวย. ดู วาสนา
วิกฤต วิกฤติ (วิ-กฺริด) วิกติ วิกติ ทำให้แปลก, ทำให้วิเศษ, ทำให้หลากหลาย, การเปลี่ยนแปลง. (ไทย) อยู่ในขั้นล่อแหลมต่ออันตราย.
วิกล วิกล วิกล ขาดแคลน, (ไทย) ผิดแบบ
วิการ วิการ วิกาล ผิดหน้าที่
วิกาล วิกาล วิกาล ผิดเวลา
วิเคราะห์ วิคฺคห วิคฺรห "ถือแยก" แยกออกเป็นส่วนๆ เพื่อให้เห็นชัดเป็นต้น. (เทียบ สงเคราะห์ "ถือรวม" รวบรวม)
วิจัย วิจย วิจย การรวบรวมข้อมูลเพื่อลงความเห็นอย่างใดอย่างหนึ่ง
วิจารณ์ วิจารณ วิจารณา วิจารณา ตรอง, ใคร่ครวญ, พินิจ.  (ไทย) ติชม
วิจิตร วิจิตฺต วิจิตฺร งดงาม
วิชชุ วิชฺชุ วิทฺยุตฺ สายฟ้า, ฟ้าแลบ
วิชัย วิชย วิชย ชนะ "ชนะวิเศษ"
วิชา วิชฺชา วิทฺยา ความรู้
วิเชียร วชิร วชฺร เพชร, สายฟ้า
วิญญาณ วิญฺญาณ วิชฺญาน ความ รับรู้ เช่น จักษุวิญญาณ คือ ความรับรู้ทางตา. (ไทย) สิ่งที่เชื่อกันว่ามีอยู่ในกายเมื่อมีชีวิต เมื่อตายจะออกจากกายล่องลอยไปหาที่เกิดใหม่ (ขัดกับหลักพระพุทธศาสนา)
วิญญู, วิญญชน วิญฺญู วิชฺญ ผู้รู้, ผู้รู้แจ้ง
วิตก วิตกฺก วิตรฺก ความตรึก, ความตริ, ความคิด. (ไทย) เป็นทุกข์, ร้อนใจ, กังวล, มักใช้เข้าคู่กับคำกังวล เป็น วิตกกังวล
วิตถาร วิตฺถาร วิสฺตาร (พิสดาร) กว้าง, กว้างขวาง. (ไทย) แปลก, นอกทาง.
วิถี วีถิ วีถี ถนน
เวท เวท เวท ญาณ, ความรู้, คัมภีร์หลักของพราหมณ์ฮินดู
วิทย์, วิทยา วิชฺชา วิทฺยา ความรู้
วิทยุ วิชฺชุ วิทฺยุตฺ สายฟ้า. (ไทย บัญญัติ) เครื่องรับและส่งเสียงหรือรูปด้วยกระแสไฟฟ้า
วิธี วิธิ วิธิ ทำนองหรือวิธีที่จะทำ
วินัย วินย วินย หลักนำความประพฤติของบุคคล
วินาศ วินาส วินาศ พินาศ, ความป่นปี้, ความฉิบหาย
วินิจ วินิจฺฉย วินิศฺจย ตรวจดูอย่างละเอียด
วิบาก วิปาก วิปาก ผล, ผลกรรมดีชั่วที่มาให้ผล. (ไทย) ลำบาก
วิบูล วิปุล วิปุล กว้างขวาง, มาก, เต็มวิเศษ, พรั่งพร้อม, ไพบูลย์
วิปโยค วิปฺปโยค วิปฺรโยค ความพลัดพราก
วิปริต วิปรีต วิปรีต ผิดปกติ
วิปลาส (วิบ-ปะ-ลาด) วิปลฺลาส วิปริยาส วิปรฺยาส คลาดเคลื่อนไปจากธรรมดาสามัญ เช่น สติวิปลาส อักขรวิปลาส สัญญาวิปลาส. (ไทย) มักใช้ในความหมายว่า บ้า.
วิปัสสนา วิปสฺสนา วิปศฺยนา, วิทรฺศนา ความเห็นแจ้ง
วิภาค วิภาค วิภาค การแบ่ง, การจำแนก, ส่วน
วิมุข วิมุข วิมุข ข้างหลัง
วิริยะ วิริย วีรฺย ความเพียร
วิโรฒ, วิรุฬห์ วิรุฬฺห วิรูฒ เจริญ, งอกงาม
วิวัฒน์ วิ+วฑฺฒน วิ+วรฺธน เจริญ, ความคลี่คลายไปในทางเจริญ
วิวาห์ วิวาห วิวาห วิวาหะ, งานบ่าวสาว
วิเวก วิเวก วิเวก ความสงัด
วิเศษ วิเสส วิเศษ ยอมเยี่ยม, เลิศลอย, มีฤทธิ์
วิสัญญี วิสญฺญี วิสญฺชฺณินฺ หมดความรู้สึก (สิ้นสติ, สลบ)
วิสามัญ วิสามญฺญ วิสามานฺย ไม่ใช่ปรกติ, ไม่ธรรมดา
วิสาสะ วิสฺสาส วิศฺวาสิก ความคุ้นเคย
วิหค วิหค วิหค นก
วุฒิ วุฑฺฒิ วฺฤทฺธิ ผู้เฒ่า, ผู้เจริญ; แก่ เป็นไปในอรรถคือ 1.เถร (คนแก่) 2.ปณฺฑิต (ผู้รู้)
ความเจริญ, ความเป็นผู้ใหญ่. (ไทย) +ภูมิรู้;
เวทนา เวทนา ความรู้สึกสุข ทุกข์ ไม่สุขไม่ทุกข์. (ไทย) ความสงสาร.
เวที เวที เวที แท่นที่วางเครื่องสักการะ, ที่บูชา, ที่ยกพื้นทั่วไปเพื่อการแสดงต่างๆ
 
เวที เวที เวทินฺ ผู้รู้, นักปราชญ์
เวไนย เวเนยฺย ไวเนย ผู้แนะนำได้
เวโรจน์, วิโรจน์ วิโรจน วิเรจน รุ่งเรืองวิเศษ (สว่าง, แจ่มใส, รุ่งเรือง)
เวสสันดร เวสฺสนฺตร ไวศฺยานฺตร, วิศฺวานฺตร ผู้ข้ามซึ่งตรอกพ่อค้า, นามพระโพธิสัตว์ชาติที่ 10 ในทศชาติ, โดยปริยาย (โดยอ้อม) หมายถึง ผู้ที่มีใจกว้างขวางชอบให้ของแก่ผู้อื่นอย่างไม่มีขอบเขตจำกัด
เวฬุ เวฬุ เวณุ ไม้ไผ่
ไวยากรณ์ เวยฺยากรณ วฺยากรณ ตำราไวยากรณ์
ศก สก ศก ระบบการคํานวณนับเวลาเรียงลําดับกันเป็นปีๆ โดยถือเอาเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่งเป็นจุดเริ่มต้น เช่น รัตนโกสินทรศก ซึ่งถือเอาปีเริ่มสร้างกรุงรัตนโกสินทร์เป็นจุดเริ่มต้น, บางทีก็ใช้เป็นคําย่อของศักราช เช่น พุทธศก คริสต์ศก; คําเรียกปีหนึ่งๆ ของจุลศักราช เพื่อให้ทราบว่าเป็นปีที่ลงท้ายด้วย 1 2 ... หรือ 0 เช่น ถ้าลงท้ายด้วย 1 เรียกว่า เอกศก ลงท้ายด้วย 2 เรียกว่า โทศก ... ลงท้ายด้วย 0 เรียกว่า สัมฤทธิศก; (ภาษาพูด) ปี เช่น ศกนี้ ศกหน้า วันเถลิงศก.
ศพ สว ศว ร่างคนตาย
ศรี สิริ, สิรี ศฺรี สิริ, สิริมงคล
(พระ)ศรีอารยเมตไตรย สิริอริยเมตฺเตยฺย ศฺรีอารฺยเมไตรฺย เมตเตยยะ พระนามพระพุทธเจ้าที่จะเสด็จอุบัติเป็นพระองค์ที่ 5 ต่อจากพระพุทธเจ้าโคตมะของเรา ในภัททกัปนี้. (ปาก) พระศรีอารย์.
ศักดานุภาพ สตฺติ+อานุภาว ศกฺติ+อานุภาว อานุภาพแห่งอำนาจ
ศักดิ์ ศักดา สตฺติ ศกฺติ หอก, อำนาจ
ศักย์, ศักยะ สกฺก ศกฺย, ศกฺต อาจ; สมควร, เหมาะสม. (ไทย ไฟฟ้า) พลังงานที่ใช้ดันกระแสไฟฟ้า ณ จุดใดจุดหนึ่ง มีหน่วยเป็นโวลต์.
ศัพท์ สทฺท ศพฺท sound เสียง
ศัลย- สลฺล ศลฺย เหล็กแหลม
ศัสตรา (สัด-ตฺรา) ศัสตราวุธ สตฺถ ศสฺตฺร มีด, หอก, อาวุธ.
ศาลา สาลา ศาลา โรง, เรือน, ศาลา. (ไทย) อาคารทรงไทย ปล่อยโถง ไม่กั้นฝา ใช้เป็นที่พักหรืออื่นๆ.
ศาสดา สตฺถา [สตฺถุ] ศาสฺตา ศาสตฺฤ ผู้สอน, ครู; ผู้ตั้งลัทธิศาสนา เช่น ศาสดาทั้ง 6 (สตฺถาโร), คำเรียกพระพุทธเจ้าว่า พระบรมศาสดา (สตฺถา).
ศาสตร์ สตฺถ ศาสฺตฺร หนังสือ, คัมภีร์, ตำรา. (ไทย) ระบบวิชาความรู้, มักใช้ประกอบหลังคําอื่น เช่น วิทยาศาสตร์.
ศาสตรา (สาด-ตฺรา) สตฺถ ศสฺตฺร มีด, หอก, อาวุธ.
ศาสตราจารย์ (สาด-ตฺรา-, สาด-สะ-ตฺรา-) สตฺถาจริย ศาสตฺราจารฺย อาจารย์ผู้มีความรู้ในคัมภีร์ ตำรา ศาสตร์. (ไทย บัญญัติ.) ตําแหน่งทางวิชาการชั้นสูงสุดของสถาบันระดับอุดมศึกษา. (มักออกเสียงผิดเป็น สาด-สะ-ดา-จาน)
ศาสน- ศาสนา สาสน ศาสน คำสอน, คำสั่งสอน; (ไทย) ลัทธิความเชื่อถือของมนุษย์.
ศาสนิก สาสนิก ศาสนิก ผู้นับถือศาสนา
ศิระ สิร ศิรสฺ ศีรษะ, หัว
ศิโรราบ สิร+"ราบ" ศิรสฺ+"ราบ" (ไทย) กราบกราน, ยอมอ่อนน้อม, ยอมแพ้และอยู่ใต้อำนาจ, "หัวก้มราบลงไป".
ศิโรเวฐน์ สิร+เวฐน ศิรสฺ+เวษฺฏฺ ผ้าโพกหัว
ศิลปะ สิปฺป ศิลฺป ฝีมือทางช่าง
ศิษย์ สิสฺส ศิษฺย ผู้เรียนด้วย
ศีรษะ สีส ศีรฺษ หัว, สีสะ
ศีลธรรม สีล+ธมฺม ศีล+ธรฺม (ไทย) ความประพฤติที่ดีที่ชอบ.
ศึกษา สิกฺขา ศิกฺษา การฝึกฝนอบรม, สิกขา. (ไทย) การเล่าเรียน.
ศุกร์ สุกฺก ศุกฺร ดาวศุกร์; ชื่อวันที่ 6 ของสัปดาห์
ศูนย์ สุญฺญ ศูนฺย ว่าง, ว่างเปล่า (จากสิ่งใดสิ่งหนึ่ง). (ไทย) เลขศูนย์, ใจกลาง, แหล่งกลาง, แหล่งรวม
เศรษฐี เสฏฺฐี เศฺรษฐี คนมีเงิน(มาก), "ผู้ประเสริฐ/เลิศ(ด้วยทรัพย์สินเงินทอง)"
เศรษฐกิจ เสฏฺฐ+กิจฺจ เศฺรษฺฐ+กฺฤตฺย (ไทย) การผลิตการบริโภค
เศวต เสต เศฺวต ขาว, สีขาว
เศวตคช, คชเศวต เสตคช, คชเสต เศฺวตจฺคช ช้างสีขาว, ช้างเผือก
เศวตฉัตร เสตฉตฺต เศฺวตจฺฉตฺร ร่มสีขาว, ฉัตรขาว
เศียร สิร ศิรสฺ หัว
โศก โสก โศก ความทุกข์, ความเศร้า. (ไทย) ต้นอโศก ตัดพยางค์หน้า เป็น โศก, สีเขียวอ่อนอย่างสีใบอโศกอ่อน เรียกว่า สีโศก.
สกนธ์ ขนฺธ สฺกนฺธ ขันธ์; คอ; ตัว, กาย
สกุณา สกุณ ศกุน นก
สกุล กุล กุล วงศ์, เชื้อสาย, เชื้อชาติผู้ดี
สงกร, สังกร สงฺกร สํกร "ทำพร้อม" (การปะปน, การคาบเกี่ยว)
สงกา สงฺกา ศงฺกา สงสัย
สงฆ์ สงฺฆ สํฆ หมู่
สงสัย สํสย สํศย สงสัย
สงสาร สํสาร สํสาร การวนเวียน(ตายเวียนเกิด), การท่องเที่ยว(ตายเกิดในภพ 3). (ไทย) เห็นใจ ในความเดือดร้อนความทุกข์ของผู้อื่น=กรุณา.
สงเคราะห์ สงฺคห สํคฺรห สงเคราะห์, อนุเคราะห์, ช่วยเหลือ; "ถือพร้อม", รวบรวม, ย่อ. (เทียบ วิเคราะห์ "ถือแยก" แยกให้เห็นชัด)
สดมภ์ ถมฺภ สฺตมฺพ สฺตมฺภ เสา, หลัก. (สะดม เขมร =การปล้นโดยวางยาให้หลับ)
สดุดี ถุติ สฺตุติ การยกย่อง, สรรเสริญ
สตรี อิตฺถี สฺตรี หญิง, เพศหญิง, คู่กับ บุรุษ
  สตปที centipede ตะขาบ "มีร้อยขา". (กิ้งกือ millipede "พันขา")
สตางค์ สต+องฺค ศต+องฺค centi+ ประกอบด้วยร้อย
  สต+มตฺต ศต+มาตฺร centimetre "ประมาณร้อย" เซนติเมตร.
สติ, สมฤดี (สม-รึ-) สติ สฺมฺฤติ ความระลึกได้. (ไทย) เติม ป เป็น สมปฤดี บ้าง.
สถล ถล สฺถล, สฺถลี ทางบก
สถาบัน ฐาปน สฺถาปน (ไทย สังคม) สิ่งซึ่งสังคมจัดตั้งให้มีขึ้น เพราะเห็นว่ามีประโยชน์ และจําเป็นแก่วิถีชีวิต เช่น สถาบันครอบครัว สถาบันศาสนา.
สถาปนา ฐาปน สฺถาปน การตั้งไว้
สถิติ ฐิติ สฺถิติ การตั้งอยู่. (ไทย) หลักฐานที่รวบรวมเป็นตัวเลขเพื่อเปรียบเทียบ
สถุล ถูล สฺถูล เต็ม, อ้วน, หยาบ
สถูป ถูป สฺตูป สิ่งก่อสร้างที่มีรูปโอคว่ำซึ่งก่อไว้สำหรับบรรจุของควรบูชามีกระดูกของพระพุทธเจ้าและพระอรหันต์เป็นต้น
สนเทศ, สันเทศ สนฺเทส สนฺเทศ แสดง. (ไทย) คำสั่ง, ข่าวสาร, ใบบอก.
สนเท่ห์ สนฺเทห สนฺเทห ความฉงน, ความไม่แน่ใจ, ความสงสัย, สนเท่ห์.
สนธยา สนฺธฺยา เวลาโพล้เพล้พลบคํ่า, เวลาที่พระอาทิตย์ขึ้นหรือพระอาทิตย์ตก
สนธิ สนฺธิ สนฺธิ การต่อ
สนิท สินิทฺธ สฺนิคฺธ ใกล้ชิด
สมญา สมญฺญา สมาชฺญา ชื่อ. ดู สมัญญา. (ไทย) สมัญญา ตัด ญฺ
สมณเพศ สมณเวส ศฺรมณเวศ เพศสมณะ
สมณศักดิ์ สมณสกฺก สมณศกฺย (ไทย บัญญ้ติ) ยศของพระ
สมถะ สมถ ศมถ การทำใจให้สงบโดยเพ่งสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นอารมณ์. (ไทย) มักน้อย เช่น คนสมถะมีความเป็นอยู่เรียบง่าย
สมบัติ สมฺปตฺติ สมฺปตฺติ ความถึงพร้อม, เต็มที่. (ไทย) ของที่มีค่า หมายถึง ทรัพย์สิน เงินทอง ของใช้ เป็นต้น ที่มีอยู่
สมพงศ์ สํ+วํส สมฺ+วํศ ร่วมวงศ์
สมเพช (-เพด) สํเวชน สํเวชน ดู สังเวช. (ไทย) สลดใจ ทำให้เกิดความสงสาร หรือหดหู่; (ปาก) กล่าวถึงการกระทำของผู้อื่นในเชิงเย้ยหยัน ดูหมิ่นดูแคลน ว่าไม่น่าทำเช่นนั้น เช่น น่าสมเพชจัง! ทำตัวแบบนี้.
สมร สมร สมร การรบ, สงคราม.
สมร สมร สฺมร (กามเทพ) หญิงงาม, นางงามซึ่งเป็นที่รัก
สมัคร สมคฺค สมคฺร ผู้พร้อมเพรียง. (ไทย) เต็มใจ, ปลงใจ, ยินยอมเข้าด้วย
สมัชชา สมชฺชา สมชฺยา การประชุม
สมัญญา สมญฺญา สมาชฺญา ชื่อเครื่องรู้เสมอ, นาม, ชื่อ; ชื่อที่มีผู้ยกย่องหรือตั้งให้ เช่น พระพุทธเจ้าได้รับสมัญญาว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะเป็นผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ
สมาคม สํ+อาคม สมฺ+อาคม การมาพร้อมกัน
สมาทาน สมาทาน สมาทาน การถือเอาพร้อม (การถือ, การตั้งใจ)
สมาน สมาน สมาน เสมอกัน, เท่ากัน. (ไทย)  [สะ-หฺมาน] เชื่อม, ผูกพัน
สมานฉันท์ สมาน+ฉนฺท สมาน+ฉนฺทส ความพอใจร่วมกัน หรือความเห็นพ้องกัน ในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เช่น ที่ประชุมมีความเห็นเป็นสมานฉันท์ในการเพิ่มค่าแรงคนงาน. (ไทย) ช่วงหลังความหมายของคำเริ่มถูกกลืนหายไปรวมในคำว่า "ปรองดอง สามัคคี สมานฉันท์"   ความจริง  ความปรองดองสามัคคี ไม่จำเป็นต้องเห็นตรงกัน (สมานฉันท์) ในทุกเรื่อง (ก็ยังรักสามัคคีกันได้อยู่)
สมาบัติ สมาปตฺติ สมาปตฺติ การถึงพร้อม, การเข้า (ฌาน)
สมุทัย สมุทย สมุทย เกิดขึ้นพร้อม (ต้นเหตุ, ที่เกิด)
สยมภู, สยัมภู สยมฺภู สฺวยมฺภู พระผู้เป็นเอง (พระอิศวร, พระพุทธเจ้า)
สยัมพร, สยุมพร สยํวร สยํวร การเลือกคู่เอาเอง
สยาม สาม ศฺยาม ดำ, (สี)น้ำตาล
สรรพาวุธ สพฺพ+อาวุธ สฺรว+อายุธ อาวุธทุกชนิด
สโรช สโรช สโรช ดอกบัว "เกิดในสระ"
สวรรค์ (สะ-หฺวัน) สคฺค สฺวรฺค โลกของเทวดา
สวัสดี โสตฺถิ (สุ+อตฺถิ) สฺวสฺติ (สุ+อสฺติ) "มี (สิ่ง)ดี ดีงาม". (ไทย) คำทักทาย
สวัสติกะ (โสตฺถิก) สฺวสฺติกา [สะ-หฺวัด-ติ-กะ] สัญลักษณ์รูปกากบาทปลายหักมุมเวียนขวา ใช้เป็นเครื่องหมายแสดงความสุขสวัสดีมาแต่โบราณ สันนิษฐานกันว่าเป็นรูปดวงอาทิตย์โคจรเวียนขวา เช่น ที่รู้จักกัน เป็นสัญลักษณ์สวัสติกะของฝ่ายนาซีเยอรมัน ต่างจากแห่งอื่นเพราะเอียง 45 องศา
สวาท สาทุ สฺวาทุ sweet น่าใคร่, น่าปรารถนา, หวาน, อร่อย
สวาหะ สฺวาห (สุ+อาห) สฺวาห (สุ+อาห) กล่าวดีแล้ว (บทสุดท้ายของคำเสกเป่า)
สหชาติ สหชาติ สหชาติ เกิดร่วมกัน
สหประชาชาติ สห+ปชา+ชาติ สห+ปฺรชา+ชาติ รวมชาติต่างๆ
สหศึกษา สห+สิกฺขา สห+ศิกฺษา ศึกษาร่วมกัน. (ไทย) โรงเรียนที่นักเรียนชายหญิง เรียนร่วมกัน
สักการะ สกฺการ สตฺการ "กระทำโดยเคารพ", บูชา
สังกัป สงฺกปฺป สํกลฺป คิด. (ไทย) วิตก.
สังเกต สงฺเกต สํเกต กำหนดพร้อม (กำหนดไว้, หมายไว้)
สังขยา สงฺขฺยา สํขฺยา การนับ, การคำนวณ. (ไทย) ชื่อขนม.
สังขาร สงฺขาร สํสฺการ ร่างกาย, สิ่งที่ประกอบและปรุงแต่งขึ้นเป็นร่างกายและจิตใจรวมกัน, เช่น สังขารทรุดโทรม; ความคิด เป็นขันธ์ 1 ในขันธ์ 5.
สังเขป สงฺเขป สํเกฺษป รวบรวม, โดยย่อ
สังคม สงฺคม สํคม ไปพร้อม, ไปร่วมกัน, ไปด้วยกัน (สมาคมกัน)
สังคหะ, สังเคราะห์ สงฺคห สํคฺรห การรวบรวม, การย่อ, "ถือพร้อม". (ไทย) สังเคราะห์,  (เคมี) ทําให้ธาตุมีปฏิกิริยาเคมีกันเป็นสารประกอบ
สังคีต สงฺคีต สํคีต ขับร้อง
สังโยค สํโยค สํโยค ประกอบกัน, "ประกอบพร้อม", การสะกดตัวหนังสือ
สังวร สํวร สํวร ระวัง, สำรวม "กั้นพร้อม"
สังเวช สํเวชน สํเวชน ความกระตุ้นให้คิด, ความรู้สึกเตือนสำนึก; ความรู้สึกสลดใจที่ทำให้คิดได้ และนึกถึงสิ่งที่ดีงาม ไม่ประมาท เพียรทำความดี หากสลดใจ แล้วจิตหดหู่ ไม่ใช่ความสังเวช. (ไทย) สลดใจ ทำให้เกิดความสงสาร หรือหดหู่
สังสรรค์ สํสคฺค สํสรฺค คลุกคลี. (ไทย) พบปะวิสาสะกันเป็นครั้งคราวด้วยความสนิทสนม.
สังหรณ์ สํหรณ สํหรณ นำไปพร้อม. (ไทย) ดลใจ
สังหาร สํหาร สํหาร นำไปพร้อม, การรวบรวม, ย่อ. (ไทย) ทำลาย, ฆ่า, ล้างผลาญ. (สมฺปหาร การสู้รบกัน)
สัจ, สัตย์ สจฺจ สตฺย ความจริง
สัญจร สญฺจร สญฺจร ผ่านไปมา
สัญชาติ สญฺชาติ สํชาติ เกิดพร้อม, เกิดดี
สัญญา สญฺญา สํชฺญา ความจำ "รู้พร้อม", 1 ในขันธ์ 5. (ไทย) ข้อตกลงระหว่างบุคคล 2 ฝ่ายขึ้นไป
สัญญี สญฺญี สํชฺญินฺ มีความรู้สึก
สัณฑ์ สณฺฑ ษณฺฑ แนว
  สตฺต สปฺต seven เจ็ด, september
สัตบุรุษ สปฺปุริส สตฺปุรุษฺ คนดี
สันดาน สนฺตาน สํตาน สืบต่อ, อุปนิสัยที่สืบต่อมาหลายภพชาติ. (ไทย) อุปนิสัยที่มีมาแต่กําเนิด มักใช้ไปในทางไม่ดี.
สันดาป สนฺตาป สํตาป การเผาไหม้, ความเร่าร้อน
สันโดษ สนฺโตส สํโตษ ความยินดีพร้อม (ยินดีเฉพาะของตน)
สันถวไมตรี สนฺถวมิตฺต สูสฺตว+มิตฺร ไมตรีอันดีต่อกัน
สันธาน สนฺธาน สนฺธาน การต่อพร้อม (การเกี่ยว, การเชื่อม)
สันนิบาต สนฺนิปาต สนฺนิปาต ที่ประชุม
สันนิวาส สนฺนิวาส สนฺนิวาส การอยู่ร่วมกัน
สันนิษฐาน สนฺนิฏฺฐาน สํ+นิ+สฺถาน คาดเดา, คาดคะเน
สับปะรด สพฺพรส สรฺวรส "รสทุกอย่าง". (ไทย) ผลไม้ชนิดหนึ่ง
สัปดาห์ สตฺตาห สปฺตาห เจ็ดวัน
  สปฺป สรฺป serpent งู
สัพเพเหระ สพฺพ- สรฺว (ไทย ภาษาพูด) ไม่เป็นชิ้นเป็นอัน, ไม่ใช่สิ่งสําคัญ
สัมปทา สมฺปทา สมฺปทา ความถึงพร้อม
สัมปทาน สมฺปทาน สมฺปทาน การมอบให้
สัมผัส สมฺผสฺส สํสฺปรฺศ แตะต้อง
สัมพันธ์ สมฺพนฺธ สํ+พนฺธ สัมพันธ์
สัมพุทธ สมฺพุทฺธ สมฺพุทฺธ ผู้รู้พร้อม
สัมภวะ, สมภพ สมฺภว สมฺภว การเกิด
สัมมา สมฺมา สมฺยกฺ จริง, แท้โดยชอบ
สัมโมทนียกถา สมฺโมทนียกถา สมฺโมทนีย+กถา ถ้อยคำเป็นที่บันเทิงใจ
สัมฤทธิ์ สมิทฺธิ สมฺฤทฺธิ ความสำเร็จ. (ไทย) โลหะเจือชนิดหนึ่ง ส่วนใหญ่ประกอบด้วยทองแดงกับดีบุก, ทองสัมฤทธิ์หรือ ทองบรอนซ์ (bronze) ก็เรียก, โบราณเขียนว่า สำริด.
สากล สกล สกล ทั่วไป, ทั้งหมด, เป็นที่นิยมของมนุษย์
สาไถย สาเถยฺย ศาฐย แสร้งทำให้หลงเข้าใจผิด
สาโท สาท สฺวาท หวาน, อร่อย. (ไทย) น้ำเมาที่ได้จากการหมัก ยังไม่ได้กลั่น เช่น น้ำขาว อุ กะแช่.
สาธยาย สชฺฌาย สฺวาธฺยาย สวด, ท่อง
สาธารณ์, สาธารณะ สาธารณ สาธารณ ทั่วไป. (ไทย) เพื่อประชาชนทั่วไป; ต่ำ, เลว.
สาธารณูปโภค สาธารณ+อุปโภค สาธารณ+อุปโภค เครื่องใช้สอยทั่วไป
สาธุ สาธุ สาธุ ดีแล้ว, ชอบแล้ว; ความดี, คนดี
สานุศิษย์ สิสฺสานุสิสฺส ศิษฺยานุศิษฺย ศิษย์น้อยใหญ่ (ศิษย์+อนุศิษย์). (ไทย) ลบ สิส- พยางค์หน้าออก.
สาบาน สปน ศปน ด่า, แช่ง. (ไทย) กล่าวคําปฏิญาณโดยอ้างสิ่งศักดิ์สิทธิ์เป็นพยาน
สามเณร สามเณร ศฺรามเณร เหล่ากอ เชื้อสาย ลูกหลาน แห่งสมณะ
สามัญ สามญฺญ สามานฺย ปกติ, ธรรมดา
สามานย์ สามญฺญ สามานฺย ปกติ, ธรรมดา. (ไทย) ชั่วช้า เลวทราม
สามารถ สมตฺถ สมรฺถ ทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้
สายัณห์ สายณฺห สายาหฺน เวลาเย็น
สาร สาร สาร สาระ, แก่น, เนื้อแท้, สำคัญ เช่น แก่นสาร; กำลัง เช่น ช้างสาร. (ไทย) ข้อความ, ถ้อยคำ, เรื่องราว, เช่น ส่งสาร, สื่อสาร, นิตยสาร; ข้าวที่เอาเปลือกออกแล้ว (ข้าวสาน)
สารพัด สพฺพ สรฺว ทั้งปวง, ทุกแห่ง, ทั้งหมด, ทุกอย่าง
สารวัตร - สรฺว+ ผู้ตรวจงานทั่วไป/ทุกอย่าง
สาโรช สโรช สโรช ดอกบัว "เกิดในสระ"
สาลิกา สาลิกา ศาริกา นกสาลิกา
สาโลหิต สาโลหิต ส+โลหิต ผู้มีสายเลือดร่วมกัน (ร่วมท้อง). มักพูดเคลื่อนเป็น สายโลหิต
สาวก สาวก ศฺราวก ผู้ฟัง,  ศิษย์ของศาสดา
สาสน-, สาสน์ (สาด) สาสน ศาสน คำสั่งสอน เช่น สาสนธรรม, พุทธสาสน์
สาสน์ (สาน), สาสน์ (สาด) สาสน จดหมายของประมุขของประเทศหรือประมุขสงฆ์ที่ใช้ในการเจริญสัมพันธไมตรีระหว่างประเทศ เช่น พระราชสาส์น/พระราชสาสน์, สมณสาสน์ ฯลฯ
สิกขาบท สิกฺขาปท ศิกฺษาปท ข้อศีล, ข้อวินัย, บทบัญญัติในพระวินัยที่พึงศึกษาปฏิบัติ. (คำว่า ลาสิกขา มักใช้ผิด เป็น ลาสิกขาบท)
สิงขร สิขร ศิขร จอม, ยอด, หงอน; ยอดเขา. (ไทย) เพิ่ม ง.
สิงห์ สีห สิงฺห สิงโต, ราชสีห์
สิญจน์ สิญฺจน การรดน้ำ
สิทธัตถะ สิทฺธตฺถ สิทฺธารฺถ "ผู้ที่สำเร็จความมุ่งหมายแล้ว", พระราชกุมารนามว่าสิทธัตถะ (ทรงสถานะเป็นพระมหาโพธิสัตว์ก่อนตรัสรู้,  จึงไม่ควรใช้คำว่า "พระพุทธเจ้าน้อย" หากถือเคร่งครัด) ผู้ได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในภายหลัง; เมล็ดพันธุ์ผักกาด (สาสป).
สินธพ สินฺธว ไสนฺธว ม้า
เสโท เสท เสฺวท sweat เหงื่อ
สิริลักษณ์ สิริ+ลกฺขณ ศฺรี+ลกฺษณ ลักษณะสวย, คุณภาพดี
  สิว สีวฺ sew เย็บ
สีกา อุปาสิกา อุบาสิกา
สุกร สุกร, สูกร สุกร หมู, "(ถูกเขา)ทำได้ง่าย, ผู้มีมือ(เท้า)งาม"
สุขี สุขี สุขินฺ มีความสุข
สุขุม สุขุม สูกฺษม ละเอียด, ประณีต, ฉลาด. (ไทย) ละเอียดประณีตทางความคิด.
สุโขทัย สุข+อุทย สุข+อุทยฺ การตั้งขึ้นแห่งความสุข
สุคต สุคต สุคต ไปดีแล้ว
สุคติ สุคติ สุคติ ที่ไปดี (นอกจากอบาย). (ไทย) สวรรค์
สุคนธ์ สุคนฺธ สุคนฺธ (มี)กลิ่นหอม
สุจริต สุจริต สุจริต (มีความ)ประพฤติดี
สุจิต สุ+จิต สุ+จิตฺต มีจิตดี, มีการสั่งสมดี
สุชน สุชน สุชน คนดี
สุชาติ สุชาติ สุชาติ มีกำเนิดดี
สุณิสา สุณิสา สฺนุษา สะใภ้
สุดา สุตา ลูกสาว (สุต ลูกชาย). (ไทย) ผู้หญิง.
สุทโธทนะ สุทฺธ+โอทน ศุทฺธ+โอทน ชื่อพระบิดาของเจ้าชายสิทธัตถะ "ข้าวสุกหมดจด"
สุทรรศน์ สุทสฺสน สุทรฺศน การเห็นดี (สวย, งาม)
สุธารส สุธา+รส สุธา+รส รสอันสะอาด บริสุทธิ์. (ไทย) น้ำดื่ม
สุนทรพจน์ สุนฺทรวจน สุนฺทรวจน คำพูดที่ไพเราะ
สุนัข สุนข ศุนก หมา, "มีเล็บงาม"
สุนันท์ สุนนฺท สุนนฺท บันเทิงดี
สุบรรณ สุปณฺณ สุปรฺณ ครุฑ "ผู้มีปีกงาม"
สุบิน สุปิน สฺวปฺน ความฝัน
สุปาณี สุปาณี สุปาณี ฝีมือดี
สุพจน์ สุ+วจน สุ+วจน (ผู้มี)ถ้อยคำอันดี
สุพรรณ สุวณฺณ สุวรฺณ ผิวดี, ทองคำ
สุพรรณราช สุวณฺณ+ราช สุวรฺณ+ราชนฺ "ราชาแห่งทอง". (ไทย ราชา.) กระโถนใหญ่, "ทองของพระราชา?"
สุพรรณศรี สุวณฺณ+สิริ สุวรฺณ+ศฺรี "สิริแห่งทอง". (ไทย ราชา.) กระโถนเล็ก, "ศรีของพระราชา?"
สุภาพ สุภาว สุภาว ภาวะอันดี. (ไทย) เรียบร้อย, อ่อนโยน, ละมุนละม่อม.
สุภาษิต สุภาสิต สุภาษิต คำพูดดี
สุเมธ สุเมธ สุเมธสฺ ผู้มีปัญญาดี, นักปราชญ์
สุรา สุรา สุรา เหล้า
สุรางค์ สุร+องฺค สุร+องฺค ประกอบด้วยความกล้า
สุวรรณ สุวณฺณ สุวรฺณ ทอง "มีสีงาม"
สุวาน สา สฺวาน, สุวาน ศฺวน หมา
สุสาน สุสาน ศฺมศาน ป่าช้า
  สูป สูป soup แกง
สุริย สุริย สูรฺย sol, solar พระอาทิตย์, สูรย์, สุรีย์, สุริยัน, สุริยน
สูญ สุญฺญ ศูนฺย (zero) ว่าง, ว่างเปล่า (จากสิ่งใดสิ่งหนึ่ง). (ไทย) หายสิ้นไป, ทําให้หายสิ้นไป
เสถียร ถิร สฺถิร ยั่งยืน, มั่นคง
เสน่ห์ สิเนห, เสฺนห เสฺนห ความรัก
เสนา เสนา เสนา กองทัพ, ทหาร
เสนีย์ เสนา+อิย ผู้อยู่ในกองทัพ, ทหาร
เสมหะ เสมฺห เศฺลษฺมนฺ เสลด
เสมา สีมา สีมา เครื่องหมายบอกเขตสำหรับสงฆ์ทำสังฆกรรม
แสนยานุภาพ เสนา+อานุภาว ไสนฺย+อานุภาว อํานาจทางทหาร.
เสาวคนธ์ สุคนฺธ สุคนฺธ กลิ่นดี, กลิ่นหอม.
เสารภย์, เสาวรภย์ สุรภี เสาวรภฺย ยินดีด้วยดี (กลิ่นหอม, เครื่องหอม)
เสาร์ โสร โสร ชื่อวันที่ 7 ของสัปดาห์; ดาวเสาร์
เสาวภา โสภา เสาวภา สวย, งาม "มีรัศมีดี"
เสาวภาคย์ โสภคฺค เสาวภาคฺย ความเจริญดี, โชคดี
เสาวรส สุรส สุรส รสดี (รสอร่อย)
เสาวลักษณ์ สุลกฺขณ สุลกฺษณ ลักษณะดี, ลักษณะงาม
โสตถิ โสตถี โสตฺถิ, สุวตฺถิ สฺวสฺติ ความเจริญ, มีดี (ความสวัสดี, ความเจริญ)
โสภา โสภา งาม
โสมนัส โสมนสฺส เสามนสฺย ใจดี
โสรจ (โสด) โสจ เศาจ อาบ, สรง, ชําระ, ทําให้สะอาด. (เขมร โสฺรจ)
ไสยา เสยฺยาสน ศยฺยา การนอน
ไสยาสน์ เสยฺยาสน ศยฺยาสน ที่นอน, (ไทย) การนอน
หทัย, หฤทัย หทย หฺฤทย heart หัวใจ, ใจ. (ไทย) ตัด ห เช่น ฤทัย, ตัด หฤ เช่น พระทัย.
หรดี หรตี ไนรฺฤติ ทิศตะวันตกเฉียงใต้
หฤหรรษ์ (หะ-รึ-หัน) หทย+หาส หฤทย+หรฺษ หฤทัยหรรษ์, ความรื่นเริงยินดีแห่งหัวใจ. (ไทย) ลบ ทัย.
หัตถ์ หตฺถ หสฺต hand มือ
หัตถาจารย์ หตฺถาจริย หสฺตาจารฺย ควาญช้าง (หตฺถี+อาจริย)
หัตถานึก, หัสดานึก หตฺถานีก หสฺตานีก กองทัพช้าง, พลช้าง (หตฺถี+อนีก)
หัสดาภรณ์ หตฺถาภรณ หสฺตาภรณ เครื่องประดับของช้าง (หตฺถี+อาภรณ)
หินชาติ หีนชาติ หีนชาติ มีกำเนิดต่ำ
หิรัญ หิรญฺญ หิรณฺย เงิน
หิงสา หึสา หึสา ความเบียดเบียน
เหตุการณ์ เหตุ+การณ เหตุการณ์
เหรัญญิก เหรญฺญิก หิรณฺย+อิก เจ้าหน้าที่การเงิน
โหร (โหน) โหรา โหรา ผู้รู้วิชาโหรา, ผู้พยากรณ์โดยอาศัยการโคจรของดวงดาวเป็นหลัก; ผู้ให้ฤกษ์
และพยากรณ์โชคชะตาราศี
อกตัญญู อกตญฺญู อ+กฺฤตชฺญ ผู้ไม่รู้(คุณที่เขา)ทำ(ให้แก่ตน)แล้ว
อกุศล อกุสล อกุสล ความชั่ว
องคชาต (อง-ค-) องฺคชาต องฺคชาต อวัยวะสืบพันธุ์ของชายหญิง. (ไทย) อวัยวะสืบพันธุ์ของชาย.
อดิเรก อติเรก อติเรก เกินหนึ่ง (ใหญ่ยิ่ง, มาก, พิเศษ)
อดิศร, อดิศวร อติสฺสร อติ+อีศฺวร ผู้เป็นใหญ่ยิ่ง
อดิศัย อติสย อติศย ดียิ่ง, เลิศ, ประเสริฐ
อธิกมาส อธิกมาส อธิกมาส เดือนเกิน, เดือนที่เพิ่มขึ้นในปีจันทรคติ
อธิกรณ์ อธิกรณ อธิกรณ การกระทำยิ่ง (เหตุ, โทษ, คดี)
อธิการ อธิการ อธิการ การกระทำยิ่ง (อำนาจ, การปกครอง, สิทธิ, หน้าที่)
อธิบาย อธิปฺปาย อภิปฺราย ขยายความ, ชี้แจง, ความประสงค์
อธิราช อธิราช อธิราชนฺ พระราชายิ่งใหญ่
อธิษฐาน (อะ-ทิด-ถาน) อธิฏฺฐาน อธิษฐาน ตั้ง(ใจ)มั่น(ในการกระทำให้สำเร็จ). (ไทย) ตั้งจิตปรารถนาผลอย่างใดอย่างหนึ่ง, ตั้งจิตขอร้องต่อสิ่งที่ตนถือว่าศักดิ์สิทธิ์เพื่อผลอย่างใดอย่างหนึ่ง.
อธึก อธิ+ก อธิก ยิ่ง, มาก, เลิศ
อนงค์ น+องฺค อนงฺค ไม่มีตัว, ไม่มีรูป (น+องฺค=อนงฺค); ชื่อกามเทพ เทวดาผู้แผลงศรแห่งความรักไปถูกพระอิศวรเมื่อทรงตบะอยู่ จึงถูกพระอิศวรเผาไหม้เป็นจุณไป จึงได้ชื่อว่า อนงค์ คือ ไม่มีตัว; คำว่า อนงค์ คือกามเทพซึ่งเป็นเทวบุตรรูปงามนี้ ยังเอามาใช้ในความหมายว่า หญิง, หญิงงาม
อนัตตา น+อตฺตา อนฺ+อาตฺมนฺ ไม่ใช่ตัวตน
อนัตถ์, อนรรถ น+อตฺถ อนรฺถ ไม่มีประโยชน์, หาประโยชน์มิได้
อนันต์ น+อนฺต อนฺ+อนฺต ไม่มีที่สุด
อนาคต น+อาคต อนาคต ยังไม่มาถึง
อนาจาร น+อาจาร อนฺ+อาจาร ประพฤติชั่ว
อนาถ น+นาถ อ+นาถ ไม่มีที่พึ่ง. (ไทย) น่าสังเวช, น่าสลดใจ
อนาทร น+อาทร อนฺ+อาทร ไม่เอาใจใส่, ไม่เอื้อเฟื้อ
อนามัย น+อามย อนฺ+อามย ไม่มีทุกข์, ไม่มีโรค
อนาลัย น+อาลย อนฺ+อาลย ไม่มีความห่วงใยพัวพัน; ไม่มีที่อยู่
อนุกูล อนุ+กูล ตามเกื้อหนุน
อนุชน อนุ+ชน อนุชน ชนรุ่นหลัง
อนุชา อนุ+ช อนุ+ช ผู้เกิดภายหลัง, น้องชาย
อนุชาติ อนุชาติ อนุชาติ การเกิดภายหลัง
อนุชิต อนุชิต ชนะเนืองๆ
อนุตร น+อุตฺตร อนุตฺตร ไม่มีสิ่งใดสูงยิ่งกว่า
อนุบาล อนุ+ปาล อนุปาล ตามเลี้ยง, ตามรักษา
อนุปาทาน น+อุปาทาน อนุปาทาน การไม่เข้าไปยึดถือ
อนุภรรยา อนุ+ภริยา อนุภรฺยา เมียน้อย
อนุมาน อนุ+มาน (ไทย บัญญัติ) กำหนดตาม (ความคาดคะเน)
อนุโมทนา อนุ+โมทนา อนุโมทน ความยินดีตาม (ความพลอยยินดี)
อนุรักษ์ อนุ+รกฺข อนุ+รกฺษฺ ตามรักษา (ระวัง, ป้องกัน)
อนุราช อนุ+ราช อนุราชนฺ พระราชาน้อย, พระราชารอง
อนุโลม อนุ+โลม อนุโลมนฺ ตามขน (ทำตาม, คล้อยตาม)
อนุสรณ์ อนุ+สรณ อนุศรณ ความระลึกตาม (ความระลึกถึง)
อเนก น+เอก อเนก ไม่ใช่หนึ่ง (มากมาย)
อเนจอนาถ -อนาถ (ไทย) สลดใจเป็นอย่างยิ่ง. อนาถ=ไม่มีที่พึ่ง
อโณทัย อรุโณทย (อรุณ+อุทย) อรุโณทยฺ อรุโณทัย. การขึ้นไปแห่งอรุณ. (ไทย) ลบ รุ ออก.
อโนดาต น+โอตตฺต อนุ+อวตปฺต "ไม่ร้อน", ชื่อสระ
อโนทก น+โอทก ไม่มีน้ำ
อเปหิ อัปเปหิ อเปหิ จงหลีกไป (ขับไล่)
อพยพ อวยว อวยว อวัยวะ. (ไทย) เคลื่อนย้าย.
อภัย อภย อภย ไม่มีภัย. (ไทย) ยกโทษให้.
อภิชน อภิชน อภิชน ชนผู้ยิ่งใหญ่
อภิชัย อภิชย อภิชย ชนะยิ่ง
อภิญญา อภิญฺญา อภิชฺญา รู้ยิ่ง
อภิธรรม อภิธมฺม อภิธรฺม ธรรมยิ่ง
อภินันท์ อภินนฺท อภินนฺท ยินดียิ่ง
อภิปราย อธิปฺปาย อภิปฺราย แสดงความคิดเห็นร่วมกัน
อภิรดี อภิรติ อภิรติ ยินดียิ่ง
อภิรมย์ อภิรมฺม อภิ+รมฺย ยินดียิ่ง, ดีใจยิ่ง
อภิรักษ์ อภิรกฺข อภิรกฺษ รักษายิ่ง, ป้องกันยิ่ง
อภิวันท์ อภิวนฺท อภิวนฺท ไหว้ยิ่ง, กราบยิ่ง
อภิวาท อภิวาท อภิวาท กล่าวยิ่ง (การกราบไหว้)
อภิสิทธิ อภิสิทฺธิ อภิสิทฺธิ สำเร็จยิ่ง. (ไทย) สิทธิพิเศษ, ข้อได้เปรียบ (privilege).
อมนุษย์ อมนุสฺส อมนุษฺย ไม่ใช่มนุษย์
อมตะ อมต อมฤต immortal ผู้ไม่ตาย
อมร, อมรา อมร อมร ผู้ไม่ตาย
อยุธยา อโยธฺยา ชื่อเมืองหลวงเก่าของไทย ยืมมาจากคำว่า "อโยธยา Ayodhya" ซึ่งแปลว่า "รบไม่แพ้" ในวรรณคดีเป็นชื่อเมืองของพระรามในเรื่อง รามเกียรติ์/รามายณะ ตั้งอยู่ในรัฐอุตตรประเทศของอินเดีย (สมัยโบราณเรียกว่า เมืองสาเกต) ปัจจุบันฮินดูและมุสลิมต่างก็อ้างสิทธิ์ในเมืองนี้; ในอดีต พม่าเคยเรียก อยุธยา (Ayudhya/Ayodhya อโยเดีย) ว่า "โยเดีย Yodia" ซึ่งอาจเป็นเพราะต้องการให้มีความหมายว่า "รบแพ้" หรืออาจเป็นเพราะเสียงพูดที่กร่อนไปเองก็ได้
อรรฆ อคฺฆ อรฺฆ มีค่า
อรรณพ อณฺณว อรฺณว ทะเล, ห้วงน้ำ
อรรถ อตฺถ อรฺถ เนื้อความ
อรัญ อรญฺญ อรณฺย ป่า
อรัญญิก อารญฺญิก อารณฺยิก ผู้อยู่ในป่า, ผู้เที่ยวในป่า
อริยะ, อารยะ อริย อารย เจริญ
อลงกต อลงฺกต อลงฺกฺฤต ทำให้พอ (ตกแต่งแล้ว)
อลงกรณ์ อลงฺกรณ อลงฺกรณ เครื่องประดับตกแต่ง
อวกาศ โอกาส อวกาส อวกาศ บริเวณที่อยู่นอก, บรรยากาศของโลก
อวชาต อวชาต อวชาต เกิดต่ำ, เกิดเลว
อวตาร อวตาร อวตาร avatar ข้ามลง, หยั่งลง; การแบ่งภาคมาเกิดในโลก ของพระนารายณ์; ในศาสนาฮินดูมีการสร้างความเชื่อว่า พระพุทธเจ้าเป็นเพียงอีกอวตารหนึ่งของพระนารายณ์ (เป็นความพยายามในการกลืนศาสนา)
อวสาน อวสาน โอสาน อวสาน จบลง
อโศก อโสก อโศก ไม่เศร้าโศก; ต้นอโศก; พระเจ้าอโศกมหาราช.
อสงไขย อสงฺเขยฺย อสํเขฺยย ไม่พึงนับ, (มากจน) นับไม่ถ้วน, จำนวนที่มากมาย; (ทางคณิตศาสตร์ เท่ากับจำนวน โกฏิ20 = 10,000,00020 = 10140)
อสนีบาต อสนิ อสนี+ปาต อศนิปาต การตกลงของสายฟ้า, ฟ้าผ่า, ไทยเขียนเป็น อสุนีบาต ก็มี
อหิงสา อหึสา อหึสา ความไม่เบียดเบียน
อโหสิ อโหสิ ได้เป็นแล้ว. (ไทย) ยกโทษให้.
อักขิ, อักษิ อกฺขิ อกฺษิ ดวงตา
อักโข อกฺโขภิณี อกฺเษาหิณี (ไทย) มาก, หลาย. อักโขภิณี ตัด ภิณี. ดู อักโขภิณี.
อักโขภิณี, อักโขเภณี อกฺโขภิณี อกฺเษาหิณี จํานวนนับอย่างสูง คือ 1 มีศูนย์ตาม 42 ตัว; กองทัพอินเดียโบราณที่มีกระบวนรบพร้อมมูลตามกําหนด.
อักษะ อกฺก อกฺษ เพลารถ, สกา
อัคคี, อัคนี อคฺคิ อคฺนิ ไฟ
อัคยาคาร อคฺยาคาร อคฺนฺยาคาร เรือนไฟ
อัคร (อัก-คฺระ) อคฺค อคฺร เลิศ
อังกูร องฺกุร องฺกุร หน่อ, เชื้อ
อังคณา องฺคณ องฺคณ เนิน, กิเลสเพียงดังเนิน
อังคาร องฺคาร องฺคาร ดาวอังคาร; ชื่อวันที่ 3 ของสัปดาห์; เถ้าถ่านของศพที่เผาแล้ว
อังสะ อํส อํส บ่า
อัจฉรา, อัปสร อจฺฉรา อปฺสรสฺ นางฟ้า
อัจฉริยะ อจฺฉริย อาศฺจรฺย น่าพิศวง, น่าอัศจรรย์; มีความรู้ความสามารถเกินกว่าระดับปรกติมาก, "(ดีจน)สมควรดีดนิ้วมือ(ให้)"
อัชชะ อชฺช อทฺย วันนี้
อัชฌาสัย, อัธยาศัย อชฺฌาสย อธฺยาศย นิสัยใจคอ
อัญชลี อญฺชลิ อญฺชุลิ อญฺชลิ กระพุ่มมือไหว้
อัญชัน อญฺชน อญฺชนํ ยาสำหรับหยอด (ตา). (ไทย) ดอกอัญชัน, แร่พลวง??
อัญมณี อญฺญ+มณิ "แก้วมณีอื่นๆ". (ไทย) รัตนชาติที่เจียระไนแล้ว, แก้วมณีอื่นๆ นอกจากเพชรพลอย
อัฐ อฏฺฐ อษฺฏนฺ eight แปด
อัฐิ อฏฺฐิ อสฺถิ กระดูก
อัฒ, อรรธ อฑฺฒ อรฺธ ครึ่ง
อัฒจันทร์ อฑฺฒจนฺท อรฺธจนฺทฺร พระจันทร์ครึ่งดวง. (ไทย) ที่นั่งในสนามกีฬาเป็นรูปพระจันทร์ครึ่งดวง
อัณฑะ อณฺฑ อณฺฑ ไข่(เป็ด, ไก่ ฯลฯ). (ไทย) ส่วนหนึ่งของอวัยวะเพศชาย.
อันตรธาน อนฺตรธาน อนฺตรฺธาน สูญหายไป, ลับไป
อันตราย อนฺตราย อนฺตราย มาในระหว่าง
อันธพาล อนฺธพาล อนฺธพาล คนพาลดุจตาบอด (คือ อ่อน ด้วยปัญญา ที่จะรู้อะไรควรไม่ควร รู้ผิดชอบชั่วดี = โง่ อย่างมืดบอด. (ไทย) คนเกะกะระราน.
อัปภาคย์ อปฺปภาคฺย อลฺป+ภาคฺย ปราศจากโชค
อัปมงคล อปมงฺคล อลฺปมงฺคล ปราศจากมงคล (ไม่เจริญตา, ลางร้าย)
อัปยศ อปยส อลฺปยศ ปราศจากยศ (เสื่อมชื่อเสียง, ขายหน้า)
อัปลักษณ์ อปลกฺขณ อลฺปลกฺษณ ปราศจากลักษณะ (ชั่ว, เลวทราม)
อัมพร อมฺพร อมฺพร ท้องฟ้า
อัมพุช อมฺพุช อมฺพุช ผู้เกิดในน้ำ, ปลา, บัว
อัศวานึก อสฺสานีก อศฺวานีก กองทัพม้า, พลม้า
อัศวิน อสฺสวี อศฺวินฺ อัศวิน, "ผู้มีม้า"
อัษฎางค์ อฏฺฐงฺค อษฺฏ+องฺค องค์ 8, มีองค์ 8
อัสดง, อัสดงคต อตฺถงฺคต อสฺตมฺคต (พระอาทิตย์) ตก, "ถึงความตั้งอยู่ไม่ได้"
อัสดร อสฺสตร อสฺวตร ม้าดีกว่าม้าทั่วไป. (ไทย) ม้าทั่วไป.
อัสสานึก อสฺสานีก อศฺวานีก กองทัพม้า, พลม้า
อัสสุ อสฺสุ อศฺรุ น้ำตา
อัสสุชล อสฺสุชล อศฺรุชล น้ำตา
อากร อากร อากร บ่อเกิด, ที่เกิด
อาเกียรณ์ อากิณฺณ อากีรฺณ เกลื่อนกล่น, เกลื่อนกลาด
อาคเนย์ อาคฺเนย ทิศตะวันออกเฉียงใต้. (ส. ว่า ทิศที่พระอัคนีรักษา)
อาคม อาคม อาคม มา
อาจิณ อาจิณฺณ อาจิรฺณ เป็นปรกติ, ติดเป็นนิสัย, เสมอๆ, เนืองๆ. (ไม่ใช่ อาจินต์)
อาชา อาชาเนยฺย อา+ชฺญา, อา+ชนฺ+ย ม้า. (ไทย) ลบ ไนย. ดู อาชาไนย.
อาชาไนย อาชาเนยฺย อา+ชฺญา, อา+ชนฺ+ย "อาจสามารถในความรู้ทั่ว". (ไทย) กําเนิดดี, พันธุ์หรือตระกูลดี; รู้รวดเร็ว, ฝึกหัดมาดีแล้ว, ถ้าเป็นม้าที่ฝึกหัดมาดีแล้ว เรียก ม้าอาชาไนย, ถ้าเป็นคนที่ฝึกหัดมาดีแล้ว เรียกว่า บุรุษอาชาไนย.
อาดูร อาตุร อาตุร ทนทุกข์เวทนาทั้งกายและใจ
อาทิตย์ อาทิจฺจ อาทิตฺย ดวงอาทิตย์; ชื่อวันที่ 1 ของสัปดาห์
อาภัพ อภพฺพ อภวฺย ไม่ควร, ไม่สมควร. (ไทย) ไม่เหมาะสม; ตกอับ, ไร้โชค
อาภา อาภา อาภา สว่างทั่ว
อารมณ์ อารมฺมณ อาลมฺพน อารมณ์
อารยะ, อริยะ อริย อารฺย เจริญ
อารัมภบท อารมฺภปท อารมฺภปท เริ่มต้น
อาวรณ์ อาวรณ อาวรณ เครื่องกั้น, เครื่องกําบัง. (ไทย) ห่วงใย, คิดกังวลถึง. เช่น อาลัยอาวรณ์.
อาวุโส อาวุโส อายุษฺมตฺ คําที่ผู้ใหญ่เรียกผู้น้อย; คําที่พระผู้ใหญ่หรือที่มีพรรษามากกว่า เรียกพระผู้น้อยหรือที่มีพรรษาน้อยกว่า, คำที่พระใช้เรียกคฤหัสถ์.
ใช้คู่กับ ภันเต ซึ่งเป็นคําที่พระผู้น้อยหรือที่มีพรรษาน้อยกว่า เรียกพระผู้ใหญ่หรือที่มีพรรษามากกว่า, คำที่คฤหัสถ์ใช้เรียกพระสงฆ์.
(ไทย - ความหมายกลับตรงกันข้าม) ผู้ที่มีอายุแก่กว่าหรือมีตำแหน่งหน้าที่การงานสูงกว่าเป็นต้น เช่น ข้าราชการอาวุโส;
ความมีอายุมากกว่า หรือมีประสบการณ์ในอาชีพมากกว่าเป็นต้น เช่น เขามีอาวุโสในการทำงาน.
อาศรม อสฺสม อาศฺรม ที่อยู่ของนักบวช
อาศัย อาสย อาศฺรย ฉันทะเป็นที่มานอน (อัธยาศัย), อัธยาศัย, ความมุ่งหมาย, ที่อาศัย. (ไทย) พักพิง, พึ่ง; อ้างถึง เช่น อาศัยความตามมาตราที่... .
อาสา อาสา อาศา ความหวัง, ความปรารถนา. (ไทย) ทำโดยเต็มใจ, สมัครใจ, เสนอตัวทำให้.
อำมาตย์ อมจฺจ อมาตฺย ขุนนางผู้ใหญ่. (ไทย) อมาตฺย แปลง อ เป็น อำ.
อิจฉา อิจฺฉา อิจฺฉา ความอยาก, ต้องการ.  (ไทย) ความรู้สึกไม่อยากให้ผู้อื่นได้ดี=ริษยา
อิฐ อิฏฺฐกา อิษฺฏกา ก้อนอิฐ
อินทรธนู (อิน-ทะ-นู) อินฺทธนุ อินฺทฺรธนุ รุ้งกินน้ำ "ธนูของพระอินทร์". (ไทย) เครื่องประดับบ่าเพื่อแสดงยศ; ชื่อลายขอบที่เป็นกระหนก.
อินทรีย์ (อิน-ซี) อินฺทฺริย (อิน-ทฺริ-ยะ) อินฺทฺริย ความเป็นใหญ่, เรียกอายตนะภายใน แต่ละอย่าง (มี 6 อย่าง) ว่า อินทรีย์ เพราะเป็นใหญ่ในการทำหน้าที่ของตนๆ เช่น ตาเป็นใหญ่ในการดู, หู เป็นใหญ่ในการได้ยิน ฯลฯ. (ไทย) ร่างกาย(และจิตใจ); สิ่งมีชีวิต. (ส่วน อินทรี เป็นชื่อของนกชนิดหนึ่ง ออกเสียงว่า อิน-ซี เหมือนกัน แต่เขียนไม่มี ย์)
อิศวร อิสฺสร อีศวร ผู้เป็นใหญ่, เทพเจ้า, พระอิศวร
อิสระ อิสฺสร อีศวร ผู้เป็นใหญ่. (ไทย) เป็นใหญ่ ไม่ขึ้นแก่ใคร, อิสระ
อุโฆษ อุคฺโฆส อุทฺโฆษ กึกก้อง, ป่าวร้อง
อุชุ อุชุ ฤชุ ตรง, ซื่อตรง
อุตพิด อติวิส ชื่อไม้ล้มลุกมีหัว ดอกบานเวลาเย็น กลิ่นเหม็นเหมือนอุจจาระ; ชะเอมต้น?
อุตริ (อุด-ตะ-หฺริ) อุตฺตริ อุตฺตริ ยิ่ง. (ไทย) นอกคอก, นอกทาง, นอกรีต.
อุตส่าห์ อุสฺสาห อุตฺสาห ความพยายาม
อุทธบาท อุทฺธปาท อูรฺธฺวมฺ+ปาท มีเท้าขึ้น, เท้าชี้ฟ้า
อุทธรณ์ อุทฺธรณ อุทฺธรณ การยกขึ้น, การรื้อฟื้น
อุทยาน อุยฺยาน อุทฺยาน สวน
อุทัย อุทย อุทย การขึ้น, การตั้งขึ้น
อุบล อุปล อุปฺปล อุตฺปล ดอกบัว
อุโบสถ อุโปสถ อุโปษณ อุโปษธ การเข้าอยู่รักษาศีล 8 (จำศีล), ศีล 8=ศีลอุโบสถ, วันอุโบสถ (อุโปสถทิน) =วันพระ. (ไทย) มักหมายถึงสถานที่สงฆ์ใช้ประชุมทําสังฆกรรม. ดู โบสถ์
อุปจาร อุปจาร อุปจาร การเข้าใกล้
อุปถัมภ์ อุปตฺถมฺภ อุปสฺตมฺภน การเข้าไปค้ำจุน (เครื่องค้ำจุน, อุดหนุน, ช่วยเหลือ)
อุปทาน อุป+ทาน (ไทย บัญญัติ) supply, สินค้าหรือบริการที่พร้อมจะขายในตลาดเพื่อตอบสนองความต้องการซื้อ
อุปาทาน อุปาทาน อุปาทาน การถือมั่น, การยึดมั่น
อุปนายก อุปนายก อุปนายก รองนายก
อุปโภค อุปโภค อุปโภค เข้าไปใช้สอย (ใช้สอย, เสพ)
อุปสงค์ อุป+สงฺค อุป+สงฺค (ไทย บัญญัติ) demand, ความต้องการและความสามารถในการซื้อสินค้าและบริการ
อุปสมบท อุปสมฺปทา การบวชเป็นภิกษุ, "เข้าถึงพร้อม"
อุปัชฌาย์ อุปชฺฌาย อุปาธฺยาย พระเถระผู้รับรองบุคคลเข้ามาบวชในท่ามกลางสงฆ์ (สงฆ์ในที่นั้นเป็นผู้ตัดสินใจร่วมกันยอมรับให้เข้าหมู่เป็นภิกษุด้วยกันได้) และดูแลอบรมหลังจากบวชแล้ว, “ผู้เพ่งดูอยู่ใกล้ๆ”
อุปัฏฐาก อุปฏฺฐาก อุปสฺถายก ผู้บำรุง, ผู้รับใช้, "ผู้ยืนใกล้(เพื่อรับใช้)"
อูฐ โอฏฐ อุษฺฎร สัตว์ชนิดหนึ่ง
เอก เอก เอก หนึ่ง
เอกฉันท์ (เอก-กะ-) เอกฉนฺท เอกฉนฺทสฺ มีความเห็นเป็นอย่างเดียวกันทั้งหมด
เอกมัย เอกมย เอกมย สำเร็จด้วยบุคคลหรือสิ่งของเดียว
เอกอุ เอก+อุตฺตม เอกอุดม (ลบ ดม) เอกเป็นเลิศ. มากมาย, หนักหนา.
เอราวัณ เอราวณ ไอราวณ ช้างพาหนะของพระอินทร์
เอาฬาร โอฬาร เอาทาร ยิ่งใหญ่, ใหญ่โต
ไอยรา เอราวณ ไอราวณ ช้าง. (ไทย) เติม ย  ลบ วณ. ดู เอราวัณ
โอกาส โอกาส อวกาศ โอกาส, ที่แจ้ง, ที่ว่าง
โอชะ, โอชา โอชา อูรฺชา รสอาหารที่ซึมซาบเลี้ยงร่างกาย, อร่อย
โอม โอม คำที่ประกอบด้วยเสียง 3 เสียง คือ อ อุ ม [อ่านว่า อะ อุ มะ] รวมกัน ฮินดู (พราหมณ์) หมายถึง พระเจ้าทั้ง 3 คือ อ = พระศิวะ อุ = พระวิษณุ ม = พระพรหม; นับถือเป็นคําศักดิ์สิทธิ์, เป็นคำขึ้นต้นของการกล่าวมนต์.
โอรส โอรส เอารส ลูกชาย "เกิดแต่อก"
โอษฐ์ โอฏฺฐ โอษฺฐ ปาก
โอสถ โอสถ โอสธ ยารักษาโรค
โอฬาร โอฬาร เอาทาร ยิ่งใหญ่, ใหญ่โต
ไอศวรรย์,
อิสสริย อิสฺสริย ไอศฺวรฺย ความยิ่งใหญ่
ที่มา: learners.in.th   (ปรับปรุง), พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน